11

Tips & Tricks

Anger Mansagement Helping Kids Control Their Anger

Helping Kids Control Their Anger

Anger – it’s a prat of life and everyone experiences it. Anger isn’t a bad emotion. We should not try to suppress it or bury it-that only makes it stronger and fiercer. However, we need to understand practice and teach our children valuable anger management skills so they can learn to deal with anger early on. We have seen the devastating effects of suppressed anger unleashed in our schools, homes and institutions. Let’s learn to effectively deal with it now so there are not unexpected moments in your family’s life

ACKNOWLEDGE YOUR CHILD’S ANGER AND HER RIGHT TO BE ANGRY.
When you are angry, you donot want to hear that you have no right to be angry, or “stop acting that way.” You want to be heard. You want to be heard. You want to express your anger because deep inside, under that anger is a feeling of injustice of some type. Often anger has pain or fear at it’s very core. The foundation of anger comes from a feeling of having love being withheld in some way. Its guises may vary. At first glance you may think you have a plausible explanation for anger-but underneath the anger is always a hidden fear or pain.

HELP YOUR CHILD DIG INTO THAT FEAR OR PAIN BY TALKING IT OUT.
Get to the root of the issue. Don’t yellback if your child is yelling, but sit quietly and listen, bringing calm and understanding to the situation. Certainly don’t allow your child to abuse you with assaults, but unserstand that sometimes a few lines of
out-brst may be what is needed so the cork doesn’t pop. Then, take in a deep breath and talk it out.

Let you child know that anger is OK. Don’t try to stop it, but help your child learn to talk though things and let her know that you will always listen, as any caring person would do. Most of the time, just talking it out diffuses the anger, even if you have to come back to the topic many times. keep working at it until it is resolved, always remaining loving, kind and respectful.
1-1

MODEL APPROPRIATE ANGER MANAGEMENT FOR YOUR CHILD.
We all get angry sometimes. When you feel yourself getting angry, take in a deep breath and exhale deeply, center your being and then go on to explain why you are upset. This will actually become more natural the more you practice it. Don’t think you’re a bad parent or a bad example if you get angry. Children need appropriate role models for emotional management and if you cover up anger or try to hide it, your child will feet it anyway, so your efforts are futile. Be honest, be open and learn to grow from every experience and every emotion.

REMEMBER KINDNESS AND RESPECT ARE THE DEYS TO HEALTHY RELATIONSHIPS.
If relationships are not based on kindness and respect then anger is going to be present. Help your child understand this truth about all reationships. Even if your child doesn’t particularly like someone, it is still important to be respectful and to be kind as much as possible. Where basic kindness and respect are lacking, problems result.

You may not always agree with your child and you may not even approve of certain choices. However, as long as kindness and respect are present and you accept your child for who he or she is, then anger issues can and will be diffused. Remember that you don’t necessarily have to approve of who your child is as a person. It is vital however, that you accept who your child is. Acceptance is fundamental, even when you are not in agreement. your child is her own person, and some parents spend many years and many tears understanding that acceptance is the foundation. disareement is okay, rejectin is not.

1-2

SHARE WITH YOUR CHILD HOW YOU MANAGE YOUR OWN ANGER.

You might use prayer, meditation, deep breathing, physical exercise and talking it out to help release anger. Prayer and meditation are more medium to long term solutions while deep breathing, exercising and talking is out are quick and short term solutions to diffuse the immediate anger. My ten year old son finds that deep breathing is especially beneficial before talking out the situation and explaining his view of things. He also uses prayer to center himself and feels that he is more balanced and can deal wth his fluctuating emotions easier by doing so. Some time ago, he also created a poster for his room that reads “If I get too angry, I walk away from the situation”. That has helped remind him to take a breather when needed and cool off.

Sometimes children do not seem to know why they are particularly angre. They may feel an accumulation of anger due to seemingly insignificant issues. by being a loving, supporting parent and seeing past anger behaviors, your child will be able to begin to deal with these small issues one at a time. also, if you spend time with your child simply asking her to “feel into the anger” and talking about it calmly; often sadness will eventually come up and you can explore that together. Getting through the layers of anger can often feel like peeling an onion, but anger is like that sometime. Just keep peeling. Stick with her through the tears, the yelling, the upset, and let her know that no matter what, you accept and love her, and you will get through this together.

1-3

ULTIMATELY YOU ARE A MODEL FOR YOUR CHILD.
If you express your anger in undesirable ways, your child will too. Use the anger management tools yourself as you teach them. You want to teach your child to deal with even the small issues so that nager does not become a havit or that it becomes deep seated as a teenager. Of course, as a loving parent, you can deal with all types of anger by coming back to these principles, but early inervention is best. Stay calm and stay focused on your task as guide and teacher rather than getting personally angered by any situation. Become the observer and helper.

In the end, true love is about the personal commitment to one another through the easy times and the tough ones. Anger is an emotion that does not have to be s sore spot for your family. Breathe deeply and use love, respect andkindness to heal anger and build a healthy loving family relationship.

1-4
Story by Mellisa Dormoy / Education living 65 May 2012
Source: www.ezinearticles.com
end ที่มา: “เด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้”: พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์

เทคนิคการสอนภาษาให้ลูก

  1. เริ่มต้นที่คำศัพท์ให้แน่นก่อน เน้นคำศัพท์รายล้อมตัวเด็กทุกอย่าง ทั้งคำนาม
    คำกริยา ใช้ท่าทางประกอบ เช่น คำว่า Eat ก็ควรทำท่าทางให้เด็กเห็นว่ากำลังกิน
  2. เริ่มผูกวลีง่ายๆ  ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่จะก้าวต่อไปในการสร้างรูปประโยค
    เมื่อเด็กโตขึ้น  พยายามให้เด็กฟังให้เข้าใจ ทำซ้ำๆทุกวัน  อาทิเช่น Take a shower, Take off your shoes
  3. สร้างเงื่อนไข  ให้เด็กพยายามตอบ   ขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นรอยต่อสำคัญ  สร้างสภาพเงื่อนไขบางอย่างให้เด็กพูดออกมา  ตัวอย่างเช่น เด็กขอให้เราหยิบของให้
    และพูดเป็นภาษาไทย เราพยายามกระตุ้นให้เด็กพูดเป็นภาษาอังกฤษ  ถ้าเด็กพูดไม่ได้
    เราสามารถพูดนำให้เขาพูดตาม  แล้วค่อยยื่นสิ่งของนั้นให้  ครั้งต่อๆไปก็พยายามทำ
    ซ้ำเช่นนี้อีก ต่อไปเด็กก็สามารถจะพูดได้โดยอัตโนมัติ
  4. เน้นประโยคคำสั่ง  แล้วขยับมาเป็นประโยคคำถาม  เนื่องจากเด็กยังเล็ก  ก็มักจะทำตามคำสั่ง  พอเด็กโตขึ้น ก็จะเริ่มสงสัย  และพยายามจะถาม คุณพ่อคุณแม่
    พยายามอธิบายสิ่งที่เขาสงสัยเป็นภาษาอังกฤษ แล้วพยายามขยับมาเป็นประโยค
    คำถาม เพื่อสร้างเงื่อนไขให้เขาตอบ โดยเริ่มจาก Yes หรือ No ก่อน หลังจากที่
    เด็กเริ่มตอบได้มากขึ้น  พยายามถามคำถามที่เป็นตัวเลือก เช่น Do you want a ball
    or a book? แล้วให้เด็กตอบเป็นคำศัพท์นั้น ให้ถามอย่างนั้นบ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
    ในหลายสถานการณ์  เด็กก็จะเริ่มชินกับคำถาม และพยายามตอบออกมา
  5. เล่าเรื่องกับDVD   DVD เป็นเครื่องมือในการสอนภาษา เนื่องจากได้สำเนียงแท้
    จากฝรั่ง (English Native Speaker)  และยังสามารถพูดคุยกับเด็กในเรื่องที่เขา
    สนใจอีกด้วย ในช่วงแรกๆที่เด็กยังมีคลังศัพท์ไม่มากพอที่จะเชื่อมต่อประโยค  การนำ
    การพูดในช่วงแรกๆ พ่อแม่จะต้องเน้นให้มาก  บางครั้งจะต้องทำต่อเนื่องไปจนโต
    ทำอย่างนี้บ่อยๆ  เด็กจะเริ่มพูดจากวลีเป็นประโยคได้คล่องขึ้น
  6. อย่ากังวลเรื่องไวยากรณ์  คนไทยมักเน้นอ่านเขียนกังวลเรื่องไวยากรณ์ (Grammar)และเรื่อง Tense มาก กลัวจะใช้ผิดใช้ถูก เรียนภาษาจากตำรา
    จนจบมหาวิทยาลัยแล้ว ยังไม่เคยพูดกับฝรั่งสักครั้งเดียว ฝรั่งเขาสอนตาม
    สถานการณ์ที่ควรจะเป็น สอนตามธรรมชาติจากชีวิตประจำวัน เด็กจะเข้าใจจาก
    ประสบการณ์ตรง

ที่มา:   “เด็กสองภาษา  พ่อแม่สร้างได้”: พงษ์ระพี  เตชพาหพงษ์

เด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

คุณทราบหรือไม่ว่า

  1. เด็กจะมีความสามารถพิเศษสำหรับการเรียนภาษาที่ 2, 3 ในช่วงวัยเด็ก
    ตอนต้น
     เนื่องจากสมองของเด็กวัยนี้จะมีองค์ประกอบพิเศษทางสรีระ ซึ่งความสามารถ
    พิเศษนี้จะลดลงไปเรื่อยๆ เมื่อโตขึ้น
  2. เด็กเล็กมีความสามารถในการเรียนรู้ภาษาตามธรรมชาติไม่ต้องอาศัยการเรียนรู้
    อย่างจงใจเหมือนเด็กโตและผู้ใหญ่ ซึ่งเรียนภาษาตามหลักสูตร เน้นไวยากรณ์เป็นหลัก
  3. เด็กที่เรียนภาษาที่ 2 หลังอายุได้ 12 ปี จะเรียนภาษาทางอ้อม คือ จะแปลประโยคที่ต้องการพูดเป็นภาษาแม่ก่อนแล้วค่อยแปลเป็นภาษาที่ 2
  4. เด็กผู้หญิงมีความสามารถตามธรรมชาติในการเรียนรู้ภาษามากกว่าเด็กผู้ชาย
  5. ภาษาเป็นทักษะความเคยชิน ดังนั้นการเรียนรู้ภาษาจะต้องมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อ
    ให้มี การฝึกฝน
    การฟัง และการพูดซ้ำๆ ทุกๆวัน อย่างเป็นธรรมชาติ
  6. ทัศนคติที่ดีจะติดตัวเราไปตลอดชีวิตส่วนใหญ่นั้นมักถูกสร้างขึ้นภายในช่วง
    อายุไม่เกิน 
    8-9 ปี  ดังนั้นพ่อแม่จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างแรงจูงใจให้กับ
    เด็ก และช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาที่ 2, 3
  7. ภาษาและการสื่อสาร เป็นหนึ่งใน 8 อัจฉริยภาพของคนเรา (ด้านภาษาและการสื่อสาร, ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว, ด้านมิติสัมพันธ์และจินตภาพ, ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์, ด้านการเข้าใจตนเอง, ด้านมนุษยสัมพันธ์และการเข้าใจผู้อื่น, ด้านการเข้าใจธรรมชาติ และด้านดนตรีและจังหวะ)
  8. ครูสอนภาษาที่ดีที่สุด  คือ พ่อแม่ นั่นเอง เนื่องจากเด็กจะผ่อนคลายที่ได้คุยกับ
    พ่อแม่มากกว่าครู ซึ่งสามารถสอนภาษาตามกิจกรรมที่เด็กต้องทำ เช่น อาบน้ำ แต่งตัว กินข้าว เล่น
  9. นักวิจัยของยอร์ค ยูนิเวอร์ซิตี้ แห่งประเทศแคนาดา ค้นพบว่าคนใช้สองภาษามักจะมี
    สมองที่มีความเสื่อมช้ากว่าคนที่พูดภาษาเดียว
     นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงต่ำ
    ในการประสบปัญหาจากโรคความจำเสื่อมเมื่อมีอายุมากขึ้น
  10. นักประสาทวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอน ค้นพบว่าการเรียนรู้ภาษา
    ที่สองตั้งแต่เยาว์วัยจะทำให้สมองส่วนซ้ายมีขนาดใหญ่ขึ้น จดจำได้มากขึ้น เมื่อเทียบกับคนเรียนรู้ภาษาเดียว
      โดยเฉพาะการเรียนรู้ตั้งแต่อายุยังน้อย จะยิ่ง
    ทำให้โครงสร้างทางกายวิภาคของสมองเปลี่ยนแปลงได้ง่ายขึ้น

ที่มา:

  • “เด็กสองภาษา  พ่อแม่สร้างได้”: พงษ์ระพี  เตชพาหพงษ์
  • “วิธีการเรียนภาษาอังกฤษของเด็กเล็ก” : www.britishcouncil.org/parents
  • “เจ้าตัวน้อยเกินไปแต่หัวใสปัญญาดี”: กัณหา  แสงรายา
  • “อัจฉริยะภาพ สร้างได้” : “วนิษา เรซ

Brain Gym การบริหารสมองด้วยการออกกำลังกาย

การเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับสมองของเด็กด้วยการบริหารสมอง ทำได้ง่ายและใช้เวลาไม่นาน
น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่ช่วยเพิ่มทักษะทางกายและทางสมองให้กับเด็ก และยังเป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ โดยหลังจากบริหารสมองอย่างต่อเนื่อง จะพบบว่า ร่างกายสดชื่นขึ้น ทำให้ตัวเชื่อมสมองส่วนซ้ายและขวา (Corpus Callosum) มีความแข็งแรง และเชื่อมสมองทั้งสองซีกให้ทำงานประสานกันอย่างคล่องแคล่วขึ้น เมื่อสมองเกิดการตื่นตัว จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ การมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความตื่นเต้น และทำให้จิตใจสงบ เกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้

การบริหารสมองแบ่งได้ 4 แบบคือ:

  • การเคลื่อนไหวสลับข้าง (Cross Over Movement)
  • การยืดส่วนต่างๆของร่างกาย (Lengthening Movement)
  • การเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้น (Energizing Movement)
  • ท่าบริหารร่างกายง่ายๆ (Useful)

การบริหารสมองนั้น มีท่าทางต่างๆดังนี้:

1.ยกขาขวางอให้ตั้งฉากกับพื้น พร้อมกับยื่นแขนทั้งสองออกไปด้านหน้า
คว่ำมือลงขนานกับพื้น แกว่งแขนทั้งสองไปด้านข้างลำตัว

2. ตรงข้ามกับขาที่ยกขึ้น แกว่งแขนทั้งสองกลับมาอยู่ด้านหน้า
พร้อมกับวางเท้าขวาไว้ที่เดิม เอามือลง เปลี่ยนขา ทำเช่นเดียวกัน

01

3. ก้าวเท้าขวาวางหน้าเท้าซ้าย พร้อมกับยื่นแขนทั้งสองออกไปด้านหน้า
มือคว่ำลงขนานกับพื้น แกว่งแขนไปด้านข้างลำตัวตรงข้ามกับขาที่ก้าวออกไป
แกว่งแขนทั้งสองข้างกลับมาอยู่ด้านหน้า พร้อมกับชักเท้าขวาวางที่เดิม
เอามือลง เปลี่ยนเท้า ทำเช่นเดียวกัน

4. วิ่งเหยาะๆ อยู่กับที่ช้าๆ

02

5.นั่งชันเข่า มือสองข้างประสานกันที่ท้ายทอย เอียงข้อศอกซ้ายแตะที่หัวเข่าขวา
ยกข้อศอกซ้ายกลับไปที่เดิม เปลี่ยนเป็นเอียงข้อศอกขวา ทำเช่นเดียวกัน

6. กำมือซ้ายขวาไขว้กันระดับหน้าอก กางแขนทั้งสองข้างออกห่างกันเป็นวงกลม
แล้วเอามือกลับมาไขว้กันเหมือนเดิม

03

7. กำมือสองข้าง ยื่นแขนตรงไปข้างหน้า ให้แขนคู่กัน เคลื่อนแขนทั้งสองข้างพร้อมๆกัน
หมุนเป็้นวงกลมสองวงต่อกัน คล้ายเลขแปดในแนวนอน

8. ยื่นแขนขวาออกไปข้างหน้า กำมือชูนิ้วโป้งขึ้น ตามองที่นิ้วโป้ง ศีรษะตรงและนิ่ง
หมุนแขนเป็นวงกลม 2 วงต่อกัน คล้ายเลขแปดในแนวนอน
ขณะหมุนแขน ตามองที่นิ้วโป้งตลอดเวลา เปลี่ยนแขน ทำเช่นเดียวกัน

04

9. ยืนหันหน้าเข้าผนัง เว้นระยะห่างเล็กน้อย ยกมือสองข้างดันฝาผนัง
งอขาขวา ขาซ้ายยืดตรง ยกส้นเท้าขึ้น เอนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
พร้อมกับหายใจเข้า ช้าๆ ลึกๆ วางส้นเท้าลง ตัวตรงหายใจออกช้าๆ
งอขาซ้าย ทำเหมือนขาขวา

05

จาก : นิตยสาร Premier Fashion. Issue.131, May – June 2008

วิธีพัฒนาภาษาด้วย 4 องค์ประกอบ ฟัง พูด อ่าน เขียน

Let’s Listen:

  • ให้เจ้าหนูฟังเสียงต่างๆจากภายในและภายนอกบ้าน แล้วให้บอกที่มาของเสียงที่ได้ยินว่า คือเสียงอะไร ฝึกให้รู้จักฟังอย่างตั้งใจ และฝึกการจับความของสิ่งที่ได้ฟัง
  • พูดคุยเพิ่มคลังคำศัพท์ วิธีง่ายแต่ได้ผลเยี่ยมค่ะ พยายามหาเรื่องต่างๆมาพูดคุยกับเจ้าหนู ไม่ต้องเป็นวิชาการแสนยากหรอกนะคะ เริ่มจากเรื่องใกล้ตัวก่อนก็ได้ค่ะ
  • หาหนังสือที่น่าสนใจมาอ่านให้ฟัง ออกเสียงให้ชัดเจนและลีลาน่าตื่นเต้น เพิ่มสีสันด้วยอุปกรณ์ เช่น ตุ๊กตา ผ้า หรือเปิดเพลงประกอบ เสียงเพลงจะช่วยให้หนูรู้จักแยกความแตกต่างของระดับเสียง ช้า เร็ว สูง ต่ำ แถมยังได้ซึมซับคำศัพท์และรูปประโยคจากเนื้อเพลงไปในตัวค่ะ

Let’s Speak:

  • เปิดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างมื้ออาหาร ให้เจ้าหนูและสมาชิกทุกคนผลัดกันเล่า หรือพูดคุยเกี่ยวกับข่าวสารต่างๆในแต่ละวัน การเปิดโอกาสให้หนูได้พูดคุยเล่าประสบการณ์ จะทำให้คุณทราบพัฒนาการของลูกค่ะ
  • ร้อยเรียงคำพูดเป็นนิทาน กำหนดตัวละครและฉาก ช่วยกันผูกเป็นเรื่องราวตามจินตนาการ ฝึกจัดลำดับเรื่องราวเป็นขั้นตอน อาจใส่จังหวะและคำคล้องจองเป็นนิทานเพลงแสนสนุกค่ะ
  • เกมบอกหมวดหมู่ของสิ่งรอบตัว มีอะไรที่หนูรู้จักและเคยเห็นมาแล้วบ้าง เช่น เครื่องดนตรีที่หนูรู้จัก บนท้องฟ้ามีอะไร สัตว์ที่อยู่ในน้ำมีอะไรบ้าง แล้วให้หนูวาดภาพบันทึกเป็นสมุดคำศัพท์ส่วนตัวค่ะ

Let’s Read:

  • เริ่มจากเลือกหนังสือน่าอ่านมากระตุ้นแรงจูงใจ มองหาจากสิ่งที่เจ้าหนูสนใจ เช่น เรื่องสัตว์ ไดโนเสาร์ อวกาศ เลือกให้ตรงตามพัฒนาการแต่ละวัยด้วยนะคะ
  • หาเวลาประมาณวันละ 20 นาที อ่านหนังสือไปด้วยกัน จากงานวิจัยในอเมริกาบอกว่า การอ่านหนังสือไปพร้อมกับลูก จะช่วยพัฒนาภาษาของลูกให้ดีขึ้น 10 – 20% ยิ่งสำหรับเจ้าหนูเล็กๆแล้วจับมานั่งตัก ใช้มือชี้ไล่ไปตามคำที่อ่าน เขาจะจดจำคำศัพท์ได้มากทีเดียวค่ะ
  • อ่านซ้ำย้ำประสบการณ์ เด็กๆชอบที่จะเดาเรื่องราวในหนังสือได้ค่ะ และจะเรียนรู้คำในหนังสือมากขึ้น โดยเดาความหมายจากเนื้อความและสิ่งที่เห็นซ้ำๆ นี่อาจจะเป็นหนังสือเล่มแรกที่เขาสามารถอ่านเองจนจบเรื่องก็ได้
  • ต่อยอดจากการอ่านด้วยการทำกิจกรรม เช่น ทำงานศิลปะจากเรื่องที่อ่าน ร้องเพลง หรือพาไปหาข้อมูลเพิ่มเติมแหล่งความรู้ อย่างพิพิธภัณฑ์ หรือสวนสัตว์

Let’s Write:

  • ก่อนเขียน ต้องรูจักพยัญชนะหรือตัวเลขก่อนค่ะ ว่าแต่ละตัวมีรูปร่างอย่างไร หาสมุดภาพคำศัพท์ที่มีตัวอักษรและรูปภาพช่วยให้จำง่ายขึ้น เกมจับคู่ ลากเส้นระหว่างตัวอักษรกับภาพ หรือเกมหาอักษรจากกองพยัญชนะช่วยได้ค่ะ
  • ทำงานศิลป์อุ่นเครื่องเรื่องเขียน เช่น เขียนบันทึก ตารางกิจวัตรประจำวัน เขียนการ์ดอวยพรหรือจดหมายส่งให้เพื่อนๆ ที่ต้องมีทั้งชื่อผู้รับ – ผู้ส่ง คำขึ้นต้น และคำลงท้ายค่ะ

สุดท้าย อย่าลืมหยอดกำลังใจ หรือคำชมแถมท้ายทุกครั้งที่เจ้าหนูทำสำเร็จด้วยนะคะ เพราะจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เขาพัฒนาเรื่องภาษาไปได้อีกไกลเลยค่ะ

จาก : นิตยสาร Kids and School. Vol.8 No. 87, September 2007

เคล็ดลับการถ่ายภาพเจ้าตัวน้อย

  • ให้เด็กเป็นผู้จัดท่าทางเอง ทำให้เด็กๆสนุกสนาน และได้ใช้ความคิด
  • ใช้อุปกรณ์ประกอบฉาก หรือการแต่งกายมาช่วยเสริม สามารถช่วยเพิ่มบรรยากาศได้
  • ถ่ายในระดับสายตาของเด็ก ถ้าหากถ่ายจากมุมสูง เด็กจะดูมีความสำคัญน้อยลง แต่หากถ่ายจากระดับสายตาเดียวกัน เด็กจะดูตัวใหญ่ขึ้น
  • พูดคุยกับเด็กขณะถ่ายภาพเพื่อดึงความสนใจ วิธีนี้จะช่วยให้ภาพออกมาไม่แข็งมากนัก
  • อย่าไปจัดทรงผม เสื้อผ้าของเด็ก ปล่อยให้มันเป็นไปอย่างธรรมชาติ children aren’t perfect นี่คือสิ่งที่ทำให้เด็กแต่ละคนมีความพิเศษที่ไม่เหมือนกัน และนี่แหละคือความทรงจำแบบที่คุณอยากจะจดจำไว้

tips09

แปลและเรียบเรียงจาก : Alison Garnett 

เคล็ดลับกินผัก ผลไม้ ให้ได้คุณค่า

ผลไม้
เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ประกอบไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายหลายอย่าง ทั้งแป้ง น้ำตาล วิตามิน พลังงาน แร่ธาตุ ที่ช่วยในกระบวนการปฏิกิริยาเคมีของร่างกาย ช่วยลดคอเลสเตอรอล มีสารป้องกันมะเร็ง มีเส้นใยอาหารช่วยชะลอการดูดซึมของน้ำตาล ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดมีความสม่ำเสมอ และเกิดพลังงานได้อย่างต่อเนื่อง

ผลไม้ ประโยชน์
กล้วย มีสารต่อต้านมะเร็ง, แก้ไอ, กระดูกแข็งแรง, ช่วยระบบไหลเวียนเลือด, ป้องกันท้องร่วง
เกาลัด ลดน้ำหนักส่วนเกิน, ควบคุมระบบเลือดให้สมดุล, ปกป้องหัวใจ, คอเลสเตอรอลต่ำ, ป้องกันมะเร็ง
แคนตาลูป ช่วยในการมองเห็น, ช่วยระบบไหลเวียนเลือด, ลดคอเลสเตอรอล, ป้องกันมะเร็้ง, บรรเทาอาการอักเสบของลำไส้
เชอรี่ ปกป้องหัวใจ, ต่อสู้กับมะเร็ง, ช่วยในการนอนหลับ, ช่วยชะลอการเติบโตของเนื้องอก, ป้องกันการเกิดอัลไซเมอร์
แตงโม ปกป้องโรคเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก, ช่วยลดน้ำหนัก, ลดคอเลสเตอรอล, ให้ความชุ่มชื้นกับผิว, บำรุงระบบประสาท
น้ำมะพร้าว ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ, ล้างพิษในร่างกาย, ขับพยาธิ, รักษาโรคกระเพาะ, มีเกลือแร่สูงที่ร่างกายดูดซึมได้ทันที
ฝรั่ง มีคอลลาเจนบำรุงผิวพรรณ, สร้างและบำรุงเนื้อเยื่อ, มีสารต้านอนุมูลอิสระ, ป้องกันไม่ให้ไขมันจับผนังเส้นเลือด, ลดสารพิษในร่างกาย
พรุน ป้องกันท้องผูก, ช่วยบำรุงเลือด, ช่วยขจัดสารพิษจากร่างกาย, ลดความอ่อนเพลีย แก้เครียด, บำรุงผิวพรรณ
มะนาว ป้องกันมะเร็ง, ป้องกันอัลไซเมอร์, เสริมสร้างความจำ, แก้คลื่นไส้วิงเวียน (มะม่วงดิบ), ช่วยบำรุงกำลัง
มะละกอ บำรุงสายตา, เสริมสร้างกระดูก, ช่วยระบบขับถ่าย, แก้ร้อนใน, ขับพยาธิเส้นด้าย
สตรอเบอร์รี่ ป้องกันมะเร็ง, ปกป้องหัวใจ, เสริมสร้างความจำ, ช่วยระบบดูดซึมอาหาร, ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน
ส้ม ต่อต้านการเกิดมะเร็ง, ช่วยบำรุงร่างกาย, มีเส้นใยธรรมชาติสูง, ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน, แก้ไอ ขับเสมหะ
ส้มโอ ช่วยลดน้ำหนัก, ลดคอเลสเตอรอล, ช่วยเจริญอาหาร, แก้เมาสุรา, ขับลมในกระเพาะอาหาร
สับปะรด เสริมความแข็งแรงของกระดูก, บรรเทาอาการไข้, ลดอาการท้องผูก, ขับปัสสาวะ, ช่วยย่อยอาหาร
องุ่น ต่อต้านมะเร็ง, ช่วยให้เลือดไหลเวียนสะดวก, ปกป้องหัวใจ, ช่วยในการมองเห็น, เพิ่มความสดชื่นให้ร่างกาย
แอปเปิ้ล ช่วยการทำงานของหัวใจ, ป้องกันท้องผูก, ต่อต้านท้องร่วง, ช่วยให้ปอดแข็งแรง, หล่อลื่นการทำงานของข้อต่อ

ผัก
เป็นอาหารที่มีคุณค่ามาก เพราะมีสารอาหารที่ร่างกายต้องการ เช่น เกลือแร่ วิตามิน อยู่เป็นจำนวนมาก
สารบางอย่างจะมีเฉพาะในผักเท่านั้น และในผักทุกชนิดยังมี “เส้นใยอาหาร (Fiber)” ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ได้ให้พลังงาน แต่มีบทบาทสำคัญกับร่างกายที่ช่วยในการขับถ่าย จับไขมัน ลดการดูดซึมน้ำตาล

ผลไม้ ประโยชน์
กระเจี๊ยบเขียว ป้องกันอาการหลอดเลือดตีบตัน, รักษาความดันโลหิตสูง, บำรุงสมอง, ขับพยาธิตัวจี๊ด, รักษาโรคกระเพาะ
กระเทียม ลดการอักเสบในกระเพาะอาหาร, ลดคอเลสเตอรอล, ควบคุมระบบเลือด, ป้องกันมะเร็ง, ทำลายเชื้อแบคทีเรีย
กะเพรา ป้องกันมะเร็ง, ขับลมในท้อง, เพิ่มน้ำนมแม่, บำรุงกระดูก, ส่งเสริมกระดูกให้แข็งแรง
กะหล่ำดอก ป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก, ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด, ป้องกันมะเร็งเต้านม, ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน, เพิ่มปริมาณเสปิร์ม
กะหล่ำปลี ป้องกันท้องผูก, ต่อต้านมะเร็ง, ปกป้องหัวใจ, ช่วยลดน้ำหนักส่วนเกิน, ป้องกันอาการริดสีดวง
ขมิ้น ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ, ช่วยเจริญอาหาร และแบคทีเรีย, ช่วยระบบการทำงานของลำไส้, ต่อต้านไวรัส, ป้องกันโรคอัลไซเมอร์
ข้าว ปกป้องหัวใจ, น้ำข้าวช่วยขับปัสสาวะ, ป้องกันมะเร็ง, บำรุงม้าม กระเพาะอาหาร ลำไส้, ให้พลังงาน
หัวปลี บำรุงเลือด, ลดน้ำตาลในเลือด, แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้, แก้โลหิตจาง, เพิ่มน้ำนมให้แม่หลังคลอด
หัวหอม ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ, ป้องกันมะเร็ง, ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย, ลดคอเลสเตอรอล, ต่อสู้กับเชื้อรา
ข้าวโพด ให้พลังงานมาก, ลดความดันโลหิต, บำรุงสายตา, ควบคุมคอเลสเตอรอล, บำรุงปอด ขับปัสสาวะ
ข้าวโอ๊ต คอเลสเตอรอลต่ำ, ป้องกันมะเร็ง, ต่อสู้กับโรคเบาหวาน, ป้องกันท้องผูก, ช่วยให้ผิวสวย
ขิง ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด, ลดอาการคลื่นไส้, แก้อาการบิด, บรรเทาอาการไอ, ขับเสมหะ แก้หวัด
ขี้เหล็ก นอนหลับดี, แก้ท้องผูก, บำรุงร่างกาย, มีเส้นใยสูง, มีแคลเซียม
แครอท ปกป้องหัวใจ, ป้องกันอาการท้องผูก, ป้องกันมะเร็ง, ลดน้ำหนักส่วนเกิน, ช่วยการมองเห็น
ถั่วฝักยาว, ถั่วลันเตา, ถั่วพู, ถั่วแขก ปกป้องหัวใจ, ป้องกันอาการท้องผูก, ป้องกันมะเร็ง, ลดน้ำหนักส่วนเกิน, ช่วยการมองเห็น
บรอคโคลี กระดูกแข็งแรง, ช่วยการมองเห็น, ต่อต้านมะเร็ง, ปกป้องหัวใจ, ควบคุมระบบเลือด
ผักกาด ป้องกันท้องผูก, ลดการเป็นมะเร็งลำไส้, ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง, เพิ่มการเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค, ช่วยการยืดหยุ่นของหลอดเลือด
ผักบุ้ง บำรุงสายตา, ป้องกันการเกิดมะเร็ง, บำรุงเลือด, บำรุงกระดูกและฟัน, ลดน้ำตาลในเลือด
พริก เจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร, ป้องกันโรคไขข้ออักเสบ, ป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ, ช่วยการไหลเวียนของเลือด, กระตุ้นให้ผมงอก
พริกไทย ช่วยระบบย่อย, ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ, ช่วยลดความอ้วน, ระงับอาการปวดท้อง, ช่วยเจริญอาหาร
มะเขือเทศ ช่วยเจริญอาหาร, รักษาโรคลักปิดลักเปิด, ขับพิษในร่างกาย, บำรุงผิวพรรณ, ช่วยให้กระเพาะ ลำไส้ และไต ทำงานดี
ฟักทอง ลดการเกิดมะเร็ง, ป้องกันการเกิดเบาหวาน, บำรุงสายตา ตับ ไต, สร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์เก่า, ลดความดันโลหิต
เห็ด ควบคุมระบบเลือด, ลดคอเลสเตอรอล, ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย, ป้องกันมะเร็ง, เพิ่มความแข็งแรงให้กระดูก
ชาเขียว ยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง, ลดคอเลสเตอรอล, ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย, ลดน้ำหนัก, บรรเทาอาการท้องเสีย
น้ำผึ้ง รักษาแผลมีหนอง, เพิ่มพลังงาน, ชะลอความเสื่อมของเซลล์, ช่วยให้นอนหลับดี, ปรับสมดุลของร่างกาย และควบคุมน้ำหนัก
น้ำมันมะกอก ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ, รักษาเยื่อบุลำไส้, รักษาแร่ธาตุของกระดูก, บำรุงผิวพรรณ, มีกรดไขมันที่เป็นประโยชน์กับร่างกาย

จาก : นิตยสาร Mother & Care ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2550

การส่งเด็กเข้าเรียนอนุบาล จะต้องเตรียมการอย่างไร

ภาวะการณ์อาจปรากฏขึ้นสองอย่าง อย่างหนึ่งบุตรของคุณเคยอยู่รวมกับเด็กอื่นๆ ในสถานรับเลี้ยงเด็กเฉพาะกลางวันมาแล้ว อีกอย่างหนึ่งเด็กเคยอยู่แต่ในครอบครัว (การที่เด็กมีแม่นมพึงอนุโลมเข้าเป็นประเภทเดียวกับเด็กที่มารดาเลี้ยงดูอยู่ในบ้าน) หากบุตรของคุณเคยอยู่สถานรับเลี้ยงเด็กเฉพาะกลางวันมาแล้ว ก็พึงถือว่าแกได้ความรู้ หรือมีประสบการณ์มาแล้วเป็นอย่างดี เพราะแกได้เรียนรู้ถึงการแยกอยู่ต่างหากจากมารดา และแกก็พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับเด็กอื่นๆ อยู่เสมอ ประสบการณ์แรกๆ ของเด็กนั้นแกมีมาแล้ว แกได้เริ่มต่อสู้และป้องกันตัวมาแล้ว อีกประการหนึ่งแกได้เรียนรู้ระเบียบวินัยมาพอสมควร ทั้งรู้จักเชื่อฟังผู้ใหญ่ด้วย สำหรับเด็กประเภทนี้ การเข้าโรงเรียนอนุบาลย่อมไม่ทำให้เกิดปัญหา ส่วนเด็กที่อยู่ในความเลี้ยงดูของมารดา (หรือแม่นม) ตลอดเวลานั้น ย่อมจะเข้ากับเด็กอื่นๆ ไม่ค่อยได้ หรือได้ก็ไม่ดีเท่าเด็กที่เคยผ่านสถานรับเลี้ยงเด็กเฉพาะกลางวันมาแล้ว ฉะนั้น เด็กที่อยู่ในความเลี้ยงดูของมารดามาตลอดเวลาจู่ๆ ก็ถูกส่งไปเข้าโรงเรียนอนุบาล และมักไม่วายแผลงฤทธิ์ต่างๆ นานา จึงเป็นที่มารดาจะต้องตระเตรียมตั้งแต่แกยังมีอายุน้อย เพราะไม้อ่อนดัดง่ายไม้แก่ดัดยากดังเป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว

tips107

ก่อนอื่น คุณพึงหลีกเลี่ยงอย่าให้เวลาในการส่งเด็กเข้าเรียนอนุบาล ไปพ้องเข้ากับเหตุการณ์ทางครอบครัวที่สำคัญๆ เช่นการเกิดของน้องใหม่ เพราะมันอาจจะทำให้แกรู้สึกว่ามีการกีดกันแกให้อยู่ห่างจากมารดาบิดา ในบางประเทศเช่น ฝรั่งเศสไม่มีกฏเกณฑ์อะไรที่บังคับให้ส่งเด็กเข้าเรียนอนุบาลตั้งแต่โรงเรียนเริ่มเปิดเทอม มารดาบิดามีสิทธิจะประวิงเวลาส่งเด็กเข้าโรงเรียนอนุบาลได้ถึงสอง – สามเดือน

ในอันจะให้บุตรรู้จักมักคุ้นกับเพื่อนนักเรียนร่วมโรงเรียน คุณควรจะจัดให้มีการชุมนุมเด็กที่เป็น หรือจะเป็นเพื่อนร่วมโรงเรียนกับบุตรขึ้นที่บ้านของคุณ ในการนี้ ควรจะเชิญเด็กที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงมาร่วมด้วย โดยคุณอาจจะจัดเลี้ยงน้ำชาและมีการละเล่นต่างๆ ในระหว่างเด็กเหล่านั้น โดยวิธีเช่นนี้บุตรของคุณก็จะมีมิตรสัมพันธ์กับเด็กดังกล่าว และมีโอกาสได้เล่นกับสหายเหล่านั้นอย่างใกล้ชิด จะทำให้แกหายรู้สึกว้าเหว่ในเมื่อไปอยู่โรงเรียนอนุบาล

อนึ่ง ก่อนที่โรงเรียนอนุบาลจะเปิดสักสอง – สามสัปดาห์ คุณควรจะพูดบ่อยๆ ถึงโรงเรียนที่แกจะต้องเข้าเรียน โดยให้พูดแต่แง่ดีของโรงเรียน เช่นกล่าวว่าโรงเรียนเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยคึวามสนุก ความเคร่งเครียดไม่มี แม้จะมีการเล่าเรียนเขียนอ่าน ก็เป็นการเรียนที่สลับการเล่น สรุปว่าโรงเรียนเป็นสถานที่ที่แกควรจะไปยิ่งนัก หากคุณมีโอกาสก็ควรจะพาแกไปเดินเล่นในบริเวณใกล้ๆ โรงเรียนเป็นครั้งคราว

อีกประการหนึ่ง คุณควรจะตระเตรียมบุตรในด้านอนามัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อยด้วย พึงให้ความรู้เบื้องต้นทางอนามัยแก่บุตร ช่วยอาบน้ำให้แกทุกวันเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาเย็น และพาแกไปนอนแต่หัวค่ำเป็นประจำตามกำหนด เมื่อแกเข้านอนแล้ว คุณก็จะมีเวลาทำอะไรๆ ได้ต่อไปอีก ข้อสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ สอนแกให้รู้จักรักษาความสะอาดของร่างกาย เช่นให้ปัสสาวะเป็นเวลาอย่างสม่ำเสมอ ส่วนการสวมเสื้อผ้านั้น ควรจะปล่อยให้แกสวมเอง เว้นแต่เมื่อคุณเห็นแกสวมไม่เรียบร้อย ก็แนะนำตักเตือนแกบ้าง
อย่าลืมเตือนแกให้กลัดกระดุมเสื้อหรือกางเกง รวมทั้งสอนแกให้รู้จักผูกเชือกรองเท้าด้วย การตระเตรียมต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้งานของครูอนุบาลดำเนินไปโดยสะดวกรวดเร็ว

จะต้องทำอย่างไรในระยะแรกๆ ที่แกไปโรงเรียน

  • ในสัปดาห์แรกๆ คุณควรจะพาแกไปโรงเรียนอนุบาลด้วยตัวคุณเอง
  • ถ้าหากบุตรของคุณร้องไห้ในวันแรกที่แกเข้าโรงเรียนและไม่ยอมผละจากคุณ คุณก็ไม่ควรจะเป็นทุกข์เป็นร้อน เพราะนั้นเป็นเรื่องปรกติ ตามธรรมดาแล้วทุกสิ่งทุกอย่างจะเรียบร้อยในเมื่อมารดาออกจากโรงเรียนไป

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากเด็กยังร้องไห้ต่อไปอีกหลายวัน คุณก็พึงคิดหน้าคิดหลังให้รอบคอบ อาจเป็นได้ว่าบุตรของคุณจะคิดถึงบ้านและเศร้าใจในการที่คุณไม่อยู่กับแก
ขอให้คุณพยายามเข้าใจแก และขอร้องครูอนุบาลให้เพิ่มความเอาใจใส่ในตัวแกอีกสักเล็กน้อย
ในระหว่างที่แกยังตกอยู่ในห้วงแห่งวิกฤติการณ์ แต่มันก็เป็นวิกฤติการณ์ที่ไม่สลักสำคัญ
และคงจะอันตรธานไปในชั่วเวลาไม่นาน

อนึ่ง ขอให้คุณแสดงความสนใจต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่แกกระทำที่โรงเรียน และพึงยกย่องสรรเสริญกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนเนื่องๆ เพื่อที่บุตรของคุณจะได้รู้สึกปรารถนาจะเข้ารวมในกิจกรรมเหล่านั้นด้วย ทั้งบังเกิดความกระตือรือร้นที่จะไปโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ

อีกประการหนึ่ง คุณควรจะไปพบครูของบุตรบ่อยๆ เผื่อมีอะไรข้องในก็จะได้แจ้งให้ครูทราบ เพื่อจะได้มีการแก้ไขต่อไป

ในที่สุดหากบุตรของคุณรักและบูชาครู และพูดให้คุณฟังถึงเรื่องเกี่ยวกับครูอยู่เนืองๆ ก็ขอคุณอย่าได้อิจฉา เพราะเป็นธรรมดาที่ครูดีย่อมเป็นที่รักของศิษย์เป็นอย่างสูงเสมอ

จาก : นิตยสารแม่และเด็ก ปีที่ 30 ฉบับที่ 4 เมษายน 2522

Why Preschoolers lie (2 - 3 year olds)

Your 2-year-old now :
For preschoolers, the line between fantasy and reality is blurry, which may explain their tendency to lie. Your child’s intent isn’t to deceive you. Rather, she wants to say what will make you happy — even if it isn’t true. Make it less scary for her to tell the truth and you’ll help her avoid fibbing. For example, if she denies drawing on the wall, calmly help her clean up and point out that crayons are for coloring books and paper. Counterintuitively, humor can be another useful response. Go along with the tall tale and embroider it yourself, and your child will probably catch on to the absurdity of her story.

tips106

Two-year-olds’ lies also sprout from their active imaginations. They come to believe certain things they’ve imagined really did happen: Maybe it was the dragon under the bed who messed up all those clothes all over the floor.

And sometimes what seems like a lie is sheer forgetfulness. You ask, “Did you put your finger in the frosting of that birthday cake?” and if it happened much earlier in a busy day, she just might not be sure whether she did it or her big brother did.

Your life now :
As a baby your child was content to sit in the grocery cart gazing quietly at the kaleidoscope of colors in the aisles. Now it’s “I want that!” and “Can I have …?” Don’t be afraid to say no. Concentrate on buying what you came for and don’t give into begging and whining unless you want to live with the habits. Bonus: Experiencing frustration allows a child to learn patience and self-control

จาก : Parentcenter.com

เล่นอย่างไรให้คิดเป็น

คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ ก็คงจะพอรู้มาบ้างแล้วใช่ไหมคะ ว่า การเล่น ช่วยเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องของ “สมอง” ให้กับลูกของเราได้ แต่ก็ยังเกิดคำถามตามมาอีกว่า แล้วเราควรจะให้ลูกเล่นอย่างไรดี จึงจะช่วยฝึกกระบวนการคิดของลูกได้ดีที่สุด จะต้องมีเทคนิคพิเศษ หรือกลยุทธ์ที่ซับซ้อน เพื่อช่วยในการกระตุ้นความคิดของลูกระหว่างการเล่นด้วยไหม

เปิดโอกาสให้ลูกเล่น ช่วยกระตุ้นความคิด :
เพราะเด็กเรียนรู้โลกผ่านการลงมือทำจริง คือผ่านการเล่นทุกๆวัน ดังนั้น การที่คุณพ่อคุณแม่เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่น โดยหาของเล่น กิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย และหาเวลาเล่นกับลูกอย่างสม่ำเสมอ ก็เท่ากับสร้างโอกาสให้เขาได้เรียนรู้ด้วยตนเอง และจะมีกระบวนการคิดระหว่างการเรียนรู้นั้นๆไปอย่างเป็นธรรมชาติ

tips105

Tips 

  1. ส่งเสริมให้ลูกได้มีโอกาสเล่น และทำกิจกรรมที่หลากหลาย เหมาะกับช่วงวัย
  2. ให้การเล่นเป็นไปอย่างธรรมชาติ เล่นให้สนุก อย่ามุ่งการเรียนรู้หรือทดสอบลูกมากเกินไป เพราะจะกลายเป็นการสอน ไม่ใช่การเล่น
  3. แต่ใช่ว่าปล่อยให้ลูกเล่นเองไปเรื่อยๆ ตามประสา โดยที่เราไม่ได้เข้าไปดู หรือรับรู้เลยว่าในแต่ละวันลูกเล่นอะไรบ้าง เพราะอาจมีปัญหาในเรื่องของการเล่นที่ไม่เหมาะสมกับวัย หรือการเล่นที่เป็นอันตรายต่อลูกได้
  4. ให้คำแนะนำตามสมควร ช่วยตั้งคำถาม กระตุ้นความคิด ลูกคิดว่าเพราะอะไร มันจึงเป็นอย่างนี้ พยายามเชียร์ให้เขาได้ลองพิสูจน์ด้วยตนเอง
  5. บางคำถาม หรือบางความคิดเห็นของลูกระหว่างการเล่นอาจไม่ถูกต้องนัก ก็อย่าพึ่งตำหนิลูก เพราะเมื่อลูกถูกตำหนิอยู่เสมอ ลูกก็จะเรียนรู้ว่า ถามอะไรแล้วจะโดนดุ กลายเป็นคนที่ไม่ชอบแสวงหาความรู้ ไม่ชอบคิดอย่างมีเหตุผล กลายเป็นคนที่เชื่ออะไรได้ง่าย ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบัน

จาก : นิตยสาร Mother & Care ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2550

อาหารใส่สีจัดจ้าน ทำให้หนูไฮเปอร์

อาหารและเครื่องดื่มที่มีการแต่งเติมสีสีนสดใสนั้น สามารถดึงดูดความสนใจของเด็กๆได้ดี
แต่สิ่งที่นักวิจัยค้นพบเพิ่มเติมก็คือ อาหารสีจัดจ้านพวกนี้ มีส่วนทำให้เด็กๆมีพฤติกรรม
ไฮเปอร์แอคทีฟเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

จิม สตีเวนสัน และทีมวิจัยแห่ง University of Southamton ได้ศึกษาผลกระทบของ
การกินอาหารสังเคราะห์ของเด็กกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 300 คน เป็นเวลา 1 ปี เขาแบ่งการทดสอบอาหารออกเป็น2 ชุด ชุดแรกนำมาทดสอบกับเด็กเล็ก อายุ 3 ขวบ
และชุดที่สอง เป็นเด็กโต อายุ 6 – 8 ขวบ อาหารที่นำมาทดสอบนั้น เป็นอาหารที่ใส่สีเหลืองจัด
เป้นสีแนว sunset yellow รู้จักกันในรหัส carmoisine – E110 หรือ tartrazine – E122 หรือ
ponceau 4R – E102 และใส่สารกันบูด โซเดียม เบนโซเอท (sodium benzoate) โดยอาหารชุดหนึ่ง
มีวัตถุดิบที่ใช้ทั่วไปในเครื่องดื่มที่เด็กเล็กชื่นชอบด้วย

ผลปรากฏว่า อาหารทั้ง 2 ชุด ล้วนได้รับความสนใจ อย่างมากจากเด็กๆ และเด็กจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากเดิม เมื่อได้ดื่มกินอาหารเหล่านี้ คือ มีความไฮเปอร์แอคทีฟสูงขึ้น

tips104

“ดูเหมือนเด็กๆ จะชอบอาหารที่ได้รับการแต่งเติมสีสันจัดๆ เพราะดูน่ากินมาก
พอกินเข้าไปก็จะคึกคักขึ้นมาทันทีเลย ส่วนเรื่องรสชาตินั้น ถือเป็นเรื่องรอง”

สตีเวนสันกล่าวสรุป
จาก : นิตยสาร Mother & Care ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2550

ลดเวลาดูทีวีของลูก

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เด็กที่ได้ดูทีวีมากตั้งแต่ยังเล็กอยู่ จะส่งผลถึงพัฒนาการทางพฤติกรรม เมื่อโตขึ้นได้ จนมีข้อแนะนำว่า เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ไม่ควรให้ดูทีวีเลย อย่างไรก็ตาม มีการวิจัยพบว่า หากพ่อแม่ไหวตัวทัน ลดเวลาดูทีวีของลูกลง เมื่อลูกมีอายุได้ 5 1/2 ปี ก็จะลดความเสี่ยงของการเกิดปัญหาทางพฤติกรรมได้

tips103

“เด็กเล็กทุกวันนี้ ล้วนดูทีวีเกินกว่าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กแนะนำไว้ทั้งนั้น ส่วนใหญ่จะดูทีวีมากกว่า วันละ 2 ชั่วโมง และบางคนก็มีทีวีอยู่ในห้องนอนด้วย”

คามิซ่า มิสตรีย์ นักวิจัยแห่ง Johns Hopkins Bloomberg School of Public Health กล่าว

มิสตรีย์และคณะวิจัยได้ทำการวิเคราะห์งานวิจัยที่ได้มีการศึกษาไว้ก่อนหน้านี้ เกี่ยวกับพฤติกรรมของแม่และลูก จำนวน 2,700 ราย ในประเด็นการดูทีวีของเด็ก และปัญหาทางพฤติกรรมต่างๆที่พบในตัวเด็ก เช่น ความกระวนกระวาย อาการซึมเศร้า ปัญหาการนอนหลับ ปัญหาการมีสมาธิ พฤติกรรมก้าวร้าว และการขาดทักษะทางสังคม

ทีมวิจัยพบว่า ในเด็กกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 16% ซึ่งเมื่ออายุได้ 2 1/2 ปีดูทีวีมากกว่าวันละ 2 ชั่วโมง แต่พออายุ 5 1/2 ปี ได้ลดเวลาดูทีวีลง ทำให้เด็กกลุ่มนี้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว และพัฒนาการทางสังคม ส่วนเด็ก 1 ใน 5 ที่ดูทีวีเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมงตลอดระยะเวลาการศึกษานั้น มีแนวโน้มที่จะมีปัญหาทางพฤติกรรม ขระเดียวกัน เด็กที่เริ่มดูทีวีจนติดเป็นนิสัยเมื่อมีอายุได้ 5 ปีนั้น ก็จัดอยู่ในข่ายมีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาทาสงพฤติกรรมเช่นกัน end
จาก : นิตยสาร Mother & Care ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2550 

Discovery Learning Process คู่มือกระบวนการเรียนรู้

DLP หรือ Discovery Learning Process เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง คุณครู
หรือผู้นำกระบวนการเรียนรู้ มีบทบาทในฐานะกองหนุน ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยส่งเสริม
และเปิดโอกาสให้เด็กๆแต่ละคน ได้ฝึกฝนทักษะที่มีอยู่ในตัวเอง ในการเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ
อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เด็กเกิดทักษะในการเรียนรู้ตามแบบของตน

7 ส ประกอบด้วย :

tips102

DLP เพื่ออะไร? 
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง มีส่วนร่วมในกระบวนการที่ก่อให้เกิดความรู้ ผ่านความคิด
แล้วลงมือปฏิบัติ ลองผิดลองถูก และสามารถสรุปความคิดรวบยอดได้ ผู้เรียนจะเกิดการพัฒนา
ทางความคิดแบบมีเหตุผล (คิดวิเคราะห์เป็น) แก้ปัญหาได้ ควบคู่กับความสนุกสนาน ผู้เรียนจะเกิดความภาคภูมิใจในการเรียนรู้ และท้ายที่สุด ผู้เรียนจะเป็นผู้ใฝ่รู้ และเรียนรู้วิธีที่จะค้นหาคำตอบ นำไปสู่การจดจำสิ่งที่เรียนรู้ไปได้นาน

บทบาทครู / ผู้ปกครอง / ผู้นำกระบวนการเรียนรู้ (เจ้าหน้าที่) 
เป็นผู้กระตุ้นให้เด็กๆได้ใช้ทักษะ 7 ส. ที่มีอยู่ในตัวเอง และย้ำให้เห็นความสำคัญของทักษะ 7 ส. โดยมีหลักในการกระตุ้นแต่ละ ส. ดังนี้

tips202

DO & DON’T สำหรับบทบาทผู้สนับสนุนการเรียนรู้แบบ DLP 

tips302

ต้องเชื่อว่า

เด็ก มีศักยภาพ ในตนเอง
เด็ก มีความ กระหายใคร่รู้
เด็ก มี ความฝัน และ จินตนาการ
เด็ก มีความปรารถนาเป็น คนดี

ทักษะ 7ส. ของหนูหนู (ผู้เรียน)

tips402

ส – สงสัย
ฝึกฝนการเป็นคนช่างคิด ช่างสงสัย รู้จักตั้งคำถาม นำไปสู่การเป็นคนใฝ่รู้ตื่นตัว คิดเป็น
ส – สังเกต

รู้จักเก็บรายละเอียด ไม่รีบร้อน ไม่มองข้าม นำไปสู่การเป็นคนละเอียดรอบคอบ
ส – สัมผัส
ช่วยฝึกฝนให้เด็กรู้จักการใช้หู ตา จมูก กาย และลิ้นในการเรียนรู้ เกิดการพัฒนาสมอง และการใช้ทักษะของร่างกายทั้ง 5
ส – สำรวจ
ให้เด็กรู้จักมองหาความเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ ความเกี่ยวข้อง สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เด็กเรียนรู้ เป็นพัฒนาไปสู่การมองแบบองค์รวม
ส – สืบค้น
เป็นการนำความรู้จากแหล่งต่างๆ มาศึกษา นำไปสู่การเป็นคนใฝ่รู้ รักการอ่าน การค้นคว้า
ส – สั่งสม
ฝึกทำซ้ำๆ ให้เด็กมีหลักคิดทางวิทยาศาสตร์ ทบทวนความถูกต้องแม่นยำ รู้จักฝึกหาทางออกเพื่อแก้ปัญหา พัฒนาตนเองสู่ความชำนาญ
ส – สรุปผล
รู้จักคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประมวลความคิด ลำดับขั้นตอน รู้จักกล้านำเสนอความคิด หรือคำตอบในมุมมองที่เหมือน หรือแตกต่าง ด้วยตนเอง

Tip เล็กๆของผู้สนับสนุนการเรียนรู้แบบ DLP ที่ดี 
ผู้ปกครอง คุณครู หรือผู้นำกระบวนการ ควรเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้จากการสงสัย รู้จักตั้งคำถามกับสิ่งที่พบเห็น ชักจูงให้เด็กใช้การสังเกต สัมผัสด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างไม่ปิดกั้น และสนับสนุนให้เด็กต่อยอดความรู้ด้วยการสำรวจในภาพกว้าง หรือสืบค้นหาข้อมุลในเชิงลึก จากแหล่งข้อมูลต่างๆ และมีการสั่งสม หรือทำซ้ำจนเกิดความชำนาญ หรือได้คำตอบจนในที่สุด เปิดโอกาสให้เด็กสามารถสรุปความรู้ของตนได้อย่างอิสระ

รวมทั้งเป็นผู้สังเกตการณ์ที่ดี ช่วยสังเกตว่า เด็กๆมีการฝึกใช้ทักษะ 7ส. มากน้อยเพียงใด
โดยคุณครู พ่อแม่ หรือผู้นำกระบวนการ ทำหน้าที่เป็นนักวางแผน สร้างโจทย์หรือเงื่อนไขการเรียนรู้ และจัดกระบวนการกิจกรรมรองรับ โดยต้องคำนึงถึงความสอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์

จาก : รักลูก ดิสคัฟเวอร์รี่ เลิร์นนิ่ง ผู้คิดค้นกระบวนการเรียนรู้แบบ DLP

มหัศจรรย์แห่งพัฒนาการ... สร้างได้ใน 1,365 วัน

เพราะสมองพัฒนาถึง 80% ในช่วงตั้งครรภ์ ถึง 3 ขวบปีแรก

จุดเริ่มต้นแห่งพัฒนาการที่มองข้ามไม่ได้
ความตั้งใจของคุณพ่อคุณแม่ เมื่อรู้ว่าจะได้มีโอกาสต้อนรับเจ้าตัวน้อย ต่างก็คาดหวังที่จะเห็นลูกน้อยมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และมีพัฒนาการที่ดีเยี่ยม สมองเป็นส่วนสำคัญที่ทำหน้าที่สั่งการ และควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ รวมทั้งพัฒนาการ ทักษะด้านต่างๆ และกสรเรียนรู้ สมองของเด็กเจริญเติบโตเร็วมาก โดยเริ่มตั้งแต่อาทิตย์แรกของการตั้งครรภ์ มีการแบ่งตัวและสร้างเป็นเซลล์ประสาทนับล้านๆเซลล์

โอกาสทองแห่งพัฒนาการ… โอกาสเดียวแห่งการเริ่มต้นอย่างสมบูรณ์แบบ

จากการวิจัยพบว่า ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักสมองประมาณ 340 กรัม เมื่อย่างเข้า 1 ปีแรก น้ำหนักสมองจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,100 กรัม ซึ่งเพิ่มมากขึ้นถึง 3 เท่าตัว น้ำหนักสมองที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่น่ามหัศจรรย์นี้ เกิดจากเซลล์สมองขยายขนาด และการสร้างเส้นใยประสาท เพื่อเชื่อมต่อให้เกิดการสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง เช่น พบว่าจุดเชื่อมต่อเวลลืสมองที่เกี่ยวกับการมองเห็น เพิ่มจาก 2,500 จุด ต่อ 1 เซลล์สมองเป็น 18,000 จุด เมื่อลูกอายุ 6 เดือน

จุดเชื่อมต่อเหล่านี้ จะเกิดขึ้นมาก และเร็ว หากเด็กได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย มีการกระตุ้น และส่งเสริมให้สมองสร้างจุดเชื่อมต่อในทุกๆส่วนอย่างเหมาะสมแล้ว สมองลูกก็จะเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ ส่งผลให้พัฒนาการและการเรียนรู้ทุกด้านของลูกสมบูรณ์

วัย 1 – 2 ขวบ
ลูกวัยนี้จะเคลื่อนไหวร่างกายได้ดี จะเริ่มมีความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง และรู้ว่าตนเองก็เป็นคนๆหนึ่งที่แยกจากแม่ได้ (sense of self)
และจะมีวิธีที่จะบอกคุณพ่อคุณแม่ได้ว่า ชอบ ไม่ชอบ และต้องการอะไร

tips101 (1)

โภชนาการ
เด็กวัยนี้ทานอาหารได้คล้ายผู้ใหญ่แล้ว คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ความสำคัญกับการเลือกอาหารหรือนม ที่อุดมด้วยสารอาหารที่ช่วยพัฒนาสมองของลูก ได้แก่ ดีเอชเอ เออาร์เอ โคลีน ไซอะลิคแอซิด เป็นต้น

การกระตุ้นพัฒนาการ
คุณพ่อคุณแม่ควรจัดสภาพแวดล้อมที่ดีให้ลูก จัดกิจกรรมที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆของลูกได้ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง พูดคุยถึงเรื่องใกล้ตัวกับลูก เล่นไล่จับ โยนรับลูกบอลกับลูก ร้องเพลงและโยกตัวตามจังหวะดนตรีไปด้วยกัน

วัย 2 – 3 ขวบ
เด็กในวัย 2 ขวบกว่า ไปจนใกล้ 3 ขวบนั้น จะได้รับฉายาจากนักวิชาการฝรั่งว่า ” Terrible Twos”
หรือวายร้ายน้อย 2 ขวบ ทั้งนี้เพราะความป่วนจากวีรกรรมต่างๆของลูก คุณแม่จะพบว่าลูกวัยนี้มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย

tips201

โภชนาการ
เด็กวัยนี้ต้องใช้พลังงานไปกับการเรียนรู้โลกกว้าง สารอาหารที่ช่วยพัฒนาสมองและการเรียนรู้ของลูกจึงเป็นสิ่งจำเป็น คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ความสำคัญกับการเลือกอาหารหรือนม ที่อุดมด้วยสารอาหารที่ช่วยพัฒนาสมองของลูก ได้แก่ ดีเอชเอ เออาร์เอ โคลีน ไซอะลิคแอซิด เป็นต้น

การกระตุ้นพัฒนาการ
คุณพ่อคุณแม่ควรจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆของลูกได้ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือกับลูก ตอบคำถามตางๆของเขา หรือตั้งคำถามเขากลับไปบ้าง ออกไปเล่นกลางแจ้งด้วยกัน เปิดเพลงที่ลูกชอบแล้วโยกตัวตามจังหวะดนตรีไปด้วยกัน จัดบ้านให้มีบรรยากาศของเสียงดนตรี และการอ่าน ฯลฯ

วัย 3 – 6 ขวบ
เด็กวัยนี้เริ่มซุกซน มีพละกำลังในการสำรวจโลกมากขึ้น ยิ่งเข้าเรียนด้วยแล้ว เขาจะมีเพื่อนที่เล่นสนุกด้วยกันได้ ชอบเล่นปีนป่าย ชอบเล่นไม้ลื่น ชอบเล่นสมมติ เขากำลังเรียนรู้ว่าอะไรเป็นโลกแห่งจินตนาการ (Fantasy) หรืออะไรเป็นโลกแห่งความจริง ชอบทำงานที่ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เช่น ปั้นดินน้ำมัน วาดรูประบายสีด้วยพู่กันอันใหญ่

tips301 (1)

โภชนาการ
เด็กวัยนี้ไปโรงเรียนแล้ว เขายิ่งสนุกกับการเรียนรู้เรื่องราวรอบตัว สารอาหารที่ช่วยพัฒนาสมอง และการเรียนรู้ของลูก จึงเป็นสิ่งจำเป็น คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ความสำคัญกับการเลือกอาหารหรือนม ที่อุดมด้วยสารอาหารที่ช่วยพัฒนาสมองของลูก ได้แก่ ดีเอชเอ เออาร์เอ โคลีน ไซอะลิกแอซิด เป็นต้น

การกระตุ้นพัฒนาการ
กิจกรรมที่หลากหลายจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆของลูกได้ ไม่ว่าจะเป็นการชวนลูกเล่นวาดภาพ ระบายสี ปั้นดินน้ำมัน อ่านหนังสือด้วยกัน เล่นเกมแข่งกันเล่านืทาน ก่อนลูกเข้านอนก็เปิดเพลงบรรเลงให้ลูกฟัง หากลูกมีแนวโน้มชอบเล่นดนตรีชนิดไหน ก็ส่งเสริมลูกให้ได้เรียนกับผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น
จาก : MeadJohnson Nutritionals

ติดต่อเรา

โทร: 0 2428 4574
แฟกซ์: 0 2427 1979
อีเมล์: sombunwit@hotmail.com

จันทร์ – ศุกร์ : 07.30 – 17.30 น.
เสาร์ : 08.30 – 15.00 น.
วันหยุด : เสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ
เวลาเรียน : 08.30 – 14.30 น.

หมายเหตุ    สามารถเยี่ยมชมโรงเรียน ตั้งแต่วันจันทร์- วันศุกร์ เวลา 09.00-11.00 น.
—-
โรงเรียนสมบุญวิทย์
571 ถ.พระราม2 แขวงบางมด
เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150

A04

 CONTACT FORM