11

น่ารู้สู่ผู้ปกครอง

ฉบับที่ 59 : สิงหาคม 2554 : ทราบหรือไม่ : I Love you, mom!

59

  • ผู้แต่งเพลงค่าน้ำนม คือ ครูไพบูลย์ บุตรขัน
  • ประเทศไทยกำหนดให้วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2519
  • ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น วันแม่จะตรงกับวันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม
  • มีการค้นพบว่าเด็กที่ได้รับนมแม่จะมีไอคิวสูงกว่าเด็กทั่วไป ประมาณ 5.2 จุด
  • ชาวญี่ปุ่นมีเกณฑ์กินนมพร้อมดื่มเฉลี่ยต่อคนประมาณ 39 ลิตรต่อปี ขณะที่คนไทยเฉลี่ยประมาณ 12 ลิตรต่อคนต่อปี

ฉบับที่ 44 : ธันวาคม 2552 : ผู้ปกครองกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก อายุ 2-6 ปี

ให้ ความรักโดยการเอาใจใส่ดูแลให้ความสบาย ปลอดภัย  ในเรื่องอาหารการกิน เครื่องนุ่งห่ม การพูดคุย  โอบกอด  ปลอบโยน  ให้ความสำคัญและความมีคุณค่า คือ การให้เด็กหยิบจับ
ช่วยตนเอง ความรู้สึกมีคุณค่า  มีอำนาจของเด็กจะเริ่มตั้งแต่เด็กเริ่มที่จะชันคอ หัดคลาน ยืน เดิน ในระยะ 2 ปีแรกแล้ว  และประมาณ 2 ขวบขึ้นไป  เด็กจะอยากทำทุกอย่างด้วยตนเอง  เช่น ตักข้าว  หยิบของ  เล่นของเล่น  ขว้างของ  ในวัยนี้การให้มีโอกาสเล่น  จับสิ่งของ  ช่วยตัวเอง  โดยผู้ใหญ่ช่วยฝึกทีละน้อย  จะสร้างความรู้สึกมั่นใจในตนเอง  รู้สึกมีอำนาจเหนือสิ่งแวดล้อม  ซึ่งจะช่วยให้เติบโตเป็นคนกล้าคิดกล้าทำ  ผู้ใหญ่ทำทุกอย่างให้เด็ก  ไม่ให้เด็กทำอะไรด้วยตนเองจะบั่นทอนความรู้สึก ทางคุณค่าในตัวเองของเด็ก  ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรให้เด็กทำเกินกำลังความสามารถของวัย

การให้ความรู้สึกมีคุณค่า  มีอำนาจในวัยนี้  นอกจากจะให้เล่น  เพื่อ ฝึกกล้ามเนื้อและความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา  ตลอดจนการให้เด็กช่วยตนเอง เช่น  การรับประทานอาหาร ใส่เสื้ออาจจะช่วยผู้ใหญ่เล็กๆ น้อยๆ เช่น หยิบ ของให้  แล้วก็ควรให้ความสำคัญแก่เด็ก
โดยการพูดคุย หยอกล้อเล่นด้วย เวลา เด็กพูดคุยผู้ใหญ่ควรฟังด้วยความสนใจ  การอ่านหนังสือภาพ ให้เด็กฟังในวัยนี้ จะช่วยให้เด็กสนใจ และมีความพร้อมในการอ่านมากขึ้น  และในขณะเดียวกัน เด็กจะรู้สึกถึงความสำคัญที่ตนมีต่อพ่อแม่ด้วย

44

อ้างอิงข้อมูล:  หนังสือรู้จัก – เข้าใจวัยของลูก

ฉบับที่ 43 : พฤศจิกายน 2552 : การคุยกับลูกวัยอนุบาล

เป็นเรื่องปกติถ้ามีการพูด และการฟังเกิดขึ้นเมื่อคุณเล่นกับลูก คุณควรใช้ช่วงเวลาเช่นนี้
บอกสิ่งที่คุณเห็น และถามเพื่อ ให้ลูกคุยกับคุณ เช่น

  • “มีมะม่วงหล่นใต้ต้น เราควรเก็บไหม เอ…แล้วจะเอาไปใส่ที่ไหนดี”
  • “แม่สงสัยว่าพี่จะกลับจากโรงเรียนแล้ว ไปคอยพี่ที่ไหนกันดี”
  • “วันนี้ลูกวาดรูปได้เยอะมาก…ไหนบอกแม่สิว่าลูกวาดรูปอะไรบ้าง”

สอนเด็กให้ร้องเพลงที่มักใช้ในสถานรับเลี้ยงเด็ก เด็กวัยอนุบาลชอบเล่นคำ และคำคล้องจอง เด็กที่สามารถเล่นกับภาษา แสดงว่ากำลังพัฒนาทักษะที่จำเป้นในการอ่าน ต่อไปนี้ข้อเสนอแนะ
บางประการ

เปลี่ยนคำพูดเป็นเพลงโดยใช้ทำนองที่คุ้นหู และมีการสอดใส่ชื่อของลูกลงใน
เนื้อร้อง คุณอาจเล่นกับลูกด้วยการนำเพลงที่ลูกร้องที่สถานรับเลี้ยงเด็กมาเปลี่ยนคำ
ให้ขบขันมากขึ้น

เมื่อคุณคุยกับูก พยายามใช้คำใหม่ ลองคิดวิธีการต่างๆ ที่จะพูด เช่น ในการพูดถึงวันฝนตก
อาจใช้คำ “ฝนตก ฟ้ารั่ว ฟ้ามืด” นี่จะเป็นการช่วยลูกให้เรียนคำใหม่

พ่อ/แม่ ควรสลับกันพูดกับลูก คุณควรแสดงให้ลูกเห็นว่าคุณเป็นผู้ฟังที่ดีในระหว่างที่คุยกันโดย
รู้จักฟังสิ่งที่ลูกพูด

ข้อมูลอ้างอิง : คู่มือ พ่อแม่ (การพัฒนาสมองของลูก)

ฉบับที่ 42 : พฤศจิกายน 2552 : ช่วยลูกพัฒนาทักษะทางกายภาพ

ภายในเวลาไม่กี่ปี  ลูกจะโตพอที่พ่อ/แม่ไม่ต้องอุ้มหรือแบกอีกต่อไป  ลูกเริ่ม กระโดดโลดเต้นและวิ่งไปมาด้วยตัวเอง
จากการเล่นตลับของเล่นลูกจะเริ่ม พลิกดูหน้าหนังสือ คุณสามารถส่งเสริมกิจกรรมให้ลูกเรียนรู้และใช้ทักษะของ
การเคลื่อนไหวต่างๆ ดังตารางต่อไปนี้

กิจกรรมสร้างกล้ามเนื้อใหญ่

ทารก

เด็กเริ่มเดิน

เด็กวัยอนุบาล

  • คว่ำ
  • นั่ง
  • คลาน
  • ไต่
  • ดึง
  • ยืน
  • เดิน
  • เต้นรำ
  • ขี่รถของเล่น
  • ผลักและดึง
  • กระโดด
  • ขว้าง
  • ก้าวเขย่ง
  • ยืนอย่างสมดุล
  • ขโยกเขยก
  • กระโดด
  • เต้นรำ
  • ขี่จักรยาน
  • ขว้าง

กิจกรรมสร้างกล้ามเนื้อเล็ก

ทารก

เด็กเริ่มเดิน

เด็กวัยอนุบาล

- เอื้อมหยิบสิ่งของ
- จับและหมุนสิ่งของในมือ
- เก็บสิ่งของชิ้นเล็กๆ
- ใช้นิ้วหยิบซีเรียล
- จับตลับของเล่นเขย่า
- ต่อภาพและของเล่น
- นำบล็อกมาต่อ
- ใช้ช้อน
- วาดภาพด้วยสีเทียนแท่งใหญ่
- เท/กรอก
- หยิบสิ่งของชิ้นเล็กๆ
- เปิดหนังสือ
- วาดภาพและเขียนหนังสือ
- ตัดกระดาษ
- ร้อยลูกปัด
- ใช้ส้อมหยิบสิ่งของ
- สร้างรูปทรงในการต่อชิ้นส่วน
- ติดกระดุม รูดซิป และผูกเชือกรองเท้า
- ต่อภาพ

42


ข้อมูลอ้างอิง: คู่มือ พ่อแม่ (สมศ.)


ฉบับที่ 41 : สิงหาคม 2552 : พ่อแม่ที่แสนดี To Be Good Parent

เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก  ถ่ายทอดแต่ในสิ่งที่ดี อธิบายถึงสิ่งรอบๆ ตัวที่เกิดขึ้น ทั้งที่เป็นสิ่งดี
และไม่ดี เช่น เมื่อลูกบังเอิญเข้าไปเห็นพ่อแม่ทะเลาะกัน ควรอธิบายให้ลูกฟังว่าการที่พ่อแม่
เสียงดังใส่กัน พ่อแม่ไม่ได้  โกรธหรือเกลียดกัน  แต่บางครั้งคนเราอาจมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน พ่อแม่ขอโทษที่ทำให้ลูกตกใจ  คราวต่อไปพ่อแม่จะคุยกันด้วยเสียงเบากว่านี้  เป็นต้น

การสั่งสอนให้เขาทำความดีด้วยความสมัครใจก็เป็นเรื่องที่ สมควรทำ นั่นคือ การสอนให้ลูก
เป็นผู้ให้ เริ่มจากตัวคุณเอง ทำเป็นตัวอย่างให้ลูก  เห็นก่อน  การพาลูกไปทำบุญตักบาตร หรือ
เก็บเสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้วนำไปบริจาคให้กับผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ แล้วลองถามลูกว่า “หนูมี
ของเล่นที่ไม่เล่นแล้วไหม แบ่งให้เพื่อนๆ ที่เขาไม่มี ดีไหมลูก”  เพื่อให้ลูกรู้จักการให้ การแบ่งปัน
ต่อเพื่อนมนุษย์

เวลาเจอคนรู้จักที่มีอายุมากกว่า  ควรยกมือไหว้เป็นการสอนให้ลูกมีสัมมาคารวะ บอกลูกว่า
เราต้องให้ความเคารพคนที่เป็นผู้ใหญ่กว่าเรา

พ่อแม่มีหน้าที่คอยดูแล  ให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษายามที่ลูกพบอุปสรรค ด้วยการให้
กำลังใจ หนทางของการเป็นพ่อแม่ที่แสนดีมีทั้งง่ายและยากปะปนกันอยู่ แต่เชื่อว่าหาก
เพื่อครอบครัว  เพื่อให้บ้าน  อบอุ่นและเต็มไปด้วยความรัก  ความเข้าใจ เป็นที่พักใจของ
ทุกคนในครอบครัวพ่อแม่ทุกคนทำได้เสมอ

41

ฉบับที่ 40 : กรกฎาคม 2552 : คำแนะนำสำหรับนักเรียนและประชาชนทั่วไปในชีวิตประจำวัน

  1. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำ และสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์ เจลทำความสะอาดมือ
  2. ไม่ใช้สิ่งของ เช่น แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น ร่วมกับผู้อื่น
  3. ไม่ควรคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด
  4. ทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผัก ผลไม้ นม ไข่ ทานอาหารปรุงสุกใหม่ๆ และใช้ช้อนกลางทุกครั้งในการทานอาหารร่วมกัน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  5. ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด และอากาศถ่ายเทไม่ดีเป็นเวลานาน โดยไม่จำเป็น

40

ข้อมูลอ้างอิง : จาก คู่มือประชาชน กระทรวงสาธารณสุข

ฉบับที่ 39 : กรกฎาคม 2552 : การช่วยให้ลูกมีพัฒนาการทางภาษา

ลูกพร้อมที่จะเรียนรู้เรื่องการพูดเมื่อได้ยินเสียง  โดยเฉพาะจากคุณพ่อคุณแม่
ตั้งแต่ลูกยังเป็นเด็กอ่อน คุณแม่ควรเล่นพูดจาหัวร่อกับลูก

39-4 39-3 39-2 39-1

  • หัดพูดกับลูกเป็นนิสัยตั้งแต่ลูกเกิด
  • มองลูกตรงๆ เวลาคุยกัน  ลูกจะเรียนรู้จากลักษณะใบหน้าของคุณแม่ว่าคุณแม่พูดอะไร
  • ใช้อากัปกิริยาประกอบให้ลูกเข้าใจง่าย
  • ใช้หนังสือนิทานช่วยขยายความรู้  รู้คำศัพท์มากขึ้น และสอนซ้ำๆ ในสิ่งที่ลูกชอบ
  • ให้ลูกมีเวลาเข้ากับผู้ใหญ่คนอื่นและเด็กอื่นๆ
  • อย่าขัดขวาง  หรือคอยขัดคอเวลาลูกพูดเป็นประโยค หรือเป็นคำ อาจทำให้ความมั่นใจ
    ของลูกลดลง และ คุณพ่อ คุณแม่เองต้องเป็นคนพูดชัดเจน ลูกจะได้ดูเป็นแบบอย่าง

อย่าวิตกถ้าลูกทำท่าจะพูดคำแรกได้ล่าช้าเกินไป    ลูกกำลังหัดฟังหัดพูดตามคุณแม่อยู่ เด็กพูดช้ามักพูดทันเพื่อนคนอื่นได้ในภายหลัง

ข้อมูลอ้างอิง : คู่มือสุขภาพประจำบ้านสำหรับเด็ก

ฉบับที่ 38 : มิถุนายน 2552 : การป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ

ลูกควรได้รับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อคุณแม่สงสัยหรือสังเกตพบสิ่งปกติ
ที่อาจเป็นปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพของลูก ควรปรึกษาแพทย์ หรือสถานบริการทางสุขภาพอื่นๆ
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อ


ตารางการให้วัคซีน

อายุ

ป้องกันโรค

วิธีการให้วัคซีน

 0 – 7 วัน

วัณโรค ไวรัสตับอักเสบชนิด B

ฉีด

 1 เดือน

ไวรัสตับอักเสบชนิด B

ฉีด

 2 เดือน

คอตีบ  ไอกรน  บาดทะยัก
โปลิโอ

ฉีด
กิน

 4 เดือน

คอตีบ  ไอกรน  บาดทะยัก
โปลิโอ

ฉีด
กิน

 6 เดือน

คอตีบ  ไอกรน  บาดทะยัก  ไวรัสตับอักเสบชนิด B  โปลิโอ

ฉีด
กิน

 12 เดือน

หัด  หัดเยอรมัน   คางทูม

ฉีด

 18 เดือน

คอตีบ   ไอกรน   บาดทะยัก
โปลิโอ

ฉีด
กิน

 4 – 6 ขวบ

คอตีบ   ไอกรน   บาดทะยัก
โปลิโอ

ฉีด
กิน

 6 ขวบ

วัณโรค

ฉีด

10 – 12 ปี

หัดเยอรมัน

ฉีด

14 – 16 ปี

บาดทะยัก

ฉีด

38

จากหนังสือคู่มือ สุขภาพประจำบ้าน สำหรับเด็ก

ฉบับที่ 37 : มิถุนายน 2552 : 5 คำถามเช็คความพร้อม : คุณพ่อ-คุณแม่: ยุคใหม่

การเลี้ยงลูกให้เติบโตเป็นคนดี และมีคุณธรรมท่ามกลางสังคมอันยุ่งเหยิงในยุคนี้   ถือเป็นงานช้างอย่างหนึ่งของคุณพ่อคุณแม่  แต่การวางรากฐานที่ดีให้เด็ก ๆ นั้น  ก็เป็นสิ่งที่คุณ ๆ ไม่ควรละเลย  แล้วในวันนี้คุณพ่อ คุณแม่ได้ส่งเสริมพัฒนาการด้านไอคิว และอีคิวของลูกน้อยแล้ว
หรือยังถ้ายังหรือชักไม่แน่ใจแล้วละก็  เรามีคำถาม 5 ข้อจาก แพทย์หญิงพรรณพิมล
หล่อตระกูล  ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล   เพื่อตรวจเช็คว่าคุณพ่อคุณแม่อย่างเรา ๆ นั้นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาไอคิวและอีคิวของลูกแล้วหรือยัง  โดยตอบคำถามเหล่านี้ว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่  ดังนี้ค่ะ

  1. ลูกเล่นเกมน้อยกว่าสัปดาห์ละ  12  ชั่วโมง
  2. คุณเล่นหรือคุยกับลูกวันละ  15  นาที
  3. ครอบครัวมีเวลาทำกิจกรรมร่วมกันเสมอ
  4. คุณทำให้ลูกมีอารมณ์ขัน
  5. คุณสนับสนุนให้ลูกให้ทำกิจกรรมตามความสนใจ

ถ้าคำตอบของคุณคือ ใช่  แสดงว่าคุณคือพ่อแม่ที่พัฒนาแล้ว  คุณมีความพร้อมที่จะส่งเสริม
ไอคิวหรืออีคิวให้ลูกได้  แต่ถ้าตอบว่า ไม่ใช่  ในข้อใดข้อหนึ่ง  ขอให้ปฏิบัติในข้อนั้นเพิ่มขึ้น
เพื่อจะได้เสริมสร้างไอคิวและอีคิวให้ลูก ๆ ของคุณกันค่ะ

อย่าลืมว่าเด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า  เรามาช่วยกันสร้างสรรค์สังคมที่ดี   ของเราในอนาคตข้างหน้าด้วยกันนะคะ

37

ฉบับที่ 36 : พฤษภาคม 2552 : ข้อดีของการเริ่มเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่อายุยังน้อย

  • เด็กเล็กยังคงใช้วิธีการเรียนรู้ภาษาที่ติดตัวมาแต่กำเนิดในการเรียนรุ้ภาษาแม่
    และในไม่ช้าเด็กก็จะพบว่าตนเองสามารถใช้วิธีแบบเดียวกันในการเรียนรู้
    ภาษาอังกฤษได้เช่นกัน
  • เด็กเล็กมีเวลาที่จะเรียนรุู้ภาษาโดยการทำกิจกรรมที่เป็นการเล่น โดยจะเรียนรู้ภาษา
    จากการร่วมกิจกรรมกับผู้ใหญ่ซึ่งเด็กจะทำความเข้าใจกิจกรรมนั้นๆ ก่อนและจากนั้น
    ก็จะสามารถเข้าใจความหมายได้ จากภาษาที่ผู้ใหญ่ใช้อธิบาย
  • เด็กเล็กมีเวลาที่จะนำภาษาอังกฤษไปใช้ในกิจกรรมเรียนรู้ประจำวันได้มากกว่า
    ซึ่งกิจกรรมการเรียนรู้ที่โรงเรียนมักจะเป็นทางการน้อยกว่า และสมองของเด็กก็
    ยังไม่มีข้อมูลมากมายให้ต้องจัดเก็บและทดสอบ เด็กอาจมีการบ้านไม่มาก หรือ
    ไม่มีการบ้านเลย และมีความเครียดน้อยกว่าเนื่องจากไม่ต้องพยายามที่จะเรียนรู้
    ให้ผ่านมาตรฐานที่กำหนดไว้

36

www.britishcouncil.org/parents

ฉบับที่ 35 : กุมภาพันธ์ 2552 : 8 วิธีสร้าง สุขอนามัยที่ดีให้ลูก

การสอนลูกให้รู้จักดูแลตัวเองผ่านเรื่องใกล้ตัว  กิจวัตรประจำวัน ก็มีส่วนลดความเสี่ยงจากการรับเชื้อโรค

  1. กินอาหารที่ปรุงสุก    สดใหม่  และใช้ช้อนกลาง  สำหรับตักอาหาร   สิ่งสำคัญที่สุด    คือการล้างมือก่อนทานอาหารทุกครั้ง  และเพื่อป้องกันเชื้อโรค
  2. หลีกเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกัน   เช่น   จาน   ช้อน   แก้วน้ำ   ผ้าเช็ดหน้า เพราะลูกอาจสัมผัสกับเชื้อโรคที่ปนเปื้อนน้ำมูก   น้ำลายของผู้ป่วย
  3. ไม่เข้าไปอยู่ในสถานที่ที่มีคนแออัด    ผู้คนจำนวนมาก  เพราะมีโอกาสเสี่ยง
    ต่อการได้รับเชื้อโรค
  4. เล็บมือของลูกมักเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคอย่างดี  การสอนลูกตัดเล็บให้สั้น
    จะช่วยป้องกันเชื้อโรคได้ระดับหนึ่ง
  5. เสื้อผ้า  เครื่องแต่งกาย   เมื่อใส่เสร็จแล้วก็ควรซักทำความสะอาดให้เรียบร้อย
    ไม่ควรหมักหมม  หรือใส่ซ้ำๆ ติดต่อกัน
  6. ของเล่น   ก็เป็นพาหะนำเชื้อโรคมาสู่ลูกได้เช่นกัน การชวนลูกมาช่วยทำความสะอาดของเล่น ก็ช่วยสอนลูกแบบทางอ้อมให้รู้จักดูแลสิ่งของของตัวเอง
  7. บอกลูกท่องจำให้ขึ้นใจว่าทุกครั้งอย่าลืมล้างมือให้สะอาด    ก่อนออกจาก
    ห้องน้ำ  ไม่ว่าจะถ่ายหนักถ่ายเบา
  8. ชวนลูกมาออกกำลังกาย     เพื่อเสริมสร้างสุขภาพความแข็งแรง   ก็เป็นวิธีง่ายๆ
    ในการป้องกันโรค

สิ่งสำคัญ  พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีทำเป็นนิสัย และปลูกฝังให้ ลูกหลานปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ   เพื่อสร้างสุขอนามัยที่ดีให้กับลูก

35

ข้อมูลจาก Mother & Care

ฉบับที่ 34 : กุมภาพันธ์ 2552 : ชวนลูกเพิ่มพื้นที่สีเขียวในบ้าน

ปลูกต้นไม้เพื่อนรัก

วิธีคลาสสิกช่วยโลกที่รับรองผลได้ เพราะต้นไม้ช่วยดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตัวการก่อ
โลกร้อน  แถมยังปล่อยออกซิเจนมาให้มนุษย์หายใจ  ราก  เมล็ด  ดอก  ใบ  ผล ก็ยังสามารถนำไปทำประโยชน์ได้อีกคณานับ  เป็นหน้าที่ของพ่อแม่   คิดหาวิธีให้ลูกเห็นว่า ต้นไม้ก็เป็นอีกชีวิตที่มีความสำคัญ ควรให้ลูกมีส่วนร่วมรับผิดชอบ  ช่วยปลูกต้นไม้  ดอกไม้  ในสวนหน้าบ้าน  หากไม่มี พื้นที่มากนัก   ก็เลือกต้นไม้เล็กๆ  ปลูกในกระถาง ให้ลูกได้มีโอกาสดูแล  รดน้ำ  ใส่ปุ๋ยเป็น ประจำ และส่งเสริมการปลูกต้นไม้เพิ่ม  เท่าที่มีโอกาส ลูกจะได้เห็นพัฒนาการการเจริญเติบโตของต้นไม้   กว่าจะงอกจากเมล็ด  มาเป็นต้นเล็กๆ  จนกระทั่งเจริญเติบโต  ออกดอกผล  ต้องใช้เวลานานเท่าไร  ดังนั้นเมื่อลูกไปเห็นต้นไม้ที่ไหน ก็ไม่ควรไปเด็ด  ทึ้ง  ดึงเล่น  เพราะต้นไม้เป็นเพื่อนที่ช่วยชีวิตเรา

34

ลดใช้พลังงานในบ้าน

เริ่มต้นจากพ่อแม่ปฏิบัติเป็นตัวอย่างที่ดี  ปิดก๊อกน้ำเวลาแปรงฟัน  ใช้แก้วรองน้ำ ปิดไฟฟ้าที่
ไม่ใช้  เปิดหน้าต่างรับแสงแดดแทนในตอนกลางวัน  ไม่เปิดตู้เย็นเป็นเวลานาน ลดจำนวนขยะในบ้าน  ด้วยการนำของที่ยังดีกลับมาใช้ซ้ำอีกครั้ง   หลีกเลี่ยงของเล่น  เช่น รถบังคับที่ต้องใช้ถ่านเป็นพลังงานขับเคลื่อน จะได้ลดปริมาณขยะพิษ  คิดประดิษฐ์ของเล่นเอง จากวัสดุเหลือใช้ในบ้าน  เช่น  กล่องกระดาษ  ซึ่งจะได้ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และประหยัดเงินซื้อหาของเล่นอีกด้วย  ปลูกฝังตั้งแต่ยังเล็ก และปฏิบัติเป็นประจำ  ไม่นานนัก  บางครอบครัว อาจพบว่า เจ้าตัวเล็กของบ้านนี่เอง ที่เป็นคนเตือนให้พ่อแม่ปิดน้ำปิดไฟ  เมื่อไม่ใช้แล้ว ตั้งใจปฏิบัติให้ลูกตระหนักว่า กิจกรรมที่ทำส่งผลกระทบต่อโลกอย่างไรบ้าง  ทุกคนเอาจริงกับภารกิจกู้โลกครั้งนี้  และสองมือน้อยๆ  ของลูกเอง  มีส่วนช่วยให้โลกดีขึ้นได้

34-2

ข้อมูลอ้างอิง :  Mother & Care

ฉบับที่ 33 : มกราคม 2552 : เคล็ดลับน่ารู้เกี่ยวกับดนตรี เพื่อการพัฒนาสมอง

  • ปัจจุบันมีงานวิจัยที่สนับสนุนข้อเท็จจริงที่ว่า การให้ลูกฟังดนตรีหรือเล่นดนตรีจะช่วย
    เพิ่มความสามารถของสมองเด็ก ทั้งด้านการคิดแบบคณิตศาสตร์ การอ่านและการเขียน
  • ดนตรีและเสียงเพลง  จะช่วยให้เด็กมีระบบการคิดวิเคราะห์และเชื่อมโยงเหตุผล  ด้วยความคิดที่มีมิติ
  • การฟังเพลงบรรเลงหรือเพลงคลาสสิกซึ่งมีความซับซ้อน (จังหวะของดนตรีจะต้องเป็นจังหวะที่เหมาะสม)  จะช่วยกระตุ้นคลื่นสมองเด็กให้เกิดการเรียงตัว  ส่งผล      ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
  • การส่งเสริมให้เด็กเล่นดนตรี   จะทำให้สมองทั้งสองซีกมีการทำงานสอดประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ   เนื่องจากอารมณ์สุนทรีย์เกี่ยวข้องกับสมองซีกขวา  ส่วนการอ่านตัวโน้ตใช้สมองซีกซ้าย
  • ศาสตร์แห่งดนตรี   มีการนำไปใช้ในการบำบัดเด็กที่มีความบกพร่องด้านสติปัญญา    หรือมีปัญหาด้านอารมณ์  เรียกว่า  “ดนตรีบำบัด”
  • ดนตรีที่มีจังหวะผ่อนคลาย   มีส่วนช่วยในการปรับคลื่นสมองของเด็กส่งผลให้เด็ก  สงบและมีสมาธิดีขึ้น
  • การเปิดเพลงที่มีเสียงธรรมชาติประกอบดนตรี  หรือเสียงธรรมชาติอย่างเดียว   ในช่วงเวลาการนอนกลางวันหรือกลางคืน  จะช่วยให้เด็กมีจิตใจสงบเยือกเย็นมากขึ้น

33

ข้อมูลอ้างอิง  :  กลยุทธ์สร้างลูกให้ปัญญาเลิศ  โดย ผศ.ดร.อุษณีย์   อนุรุทธ์วงศ์,
ดนตรีเพิ่มพลังสมอง  โดย  ดร.แพง   ชินพงศ์

ฉบับที่ 32 : มกราคม 2552 : หนูน้อยหย่อนวินัย ... เรื่องใหญ่ที่ต้องแก้

เรื่องระเบียบวินัยเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมีการสร้าง และวางพื้นฐานให้กับเด็กทุกคน
เพื่อให้เด็กได้รู้จักการจัดระเบียบให้กับตนเอง   เมื่อเขาโตขึ้นเขาจะรู้ขอบเขตทั้งต่อตนเองและ
ผู้อื่น เพราะเรื่องระเบียบวินัยจะเป็นเสมือนกรอบที่คอยกำหนดให้เด็กรู้จักการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม

เคล็ดลับการฝึกระเบียบวินัยที่ดี

  • คำนึงถึงพัฒนาการตามวัยของเด็ก
  • พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี   การได้เห็นพฤติกรรมที่ดีจะช่วยลูกเข้าใจได้ง่ายขึ้น
  • หากลูกมีอารมณ์หงุดหงิด  ก้าวร้าวเวลาถูกขัดใจ  เช่น  เด็กมักจะอารมณ์เสียเวลา
    ถูกพ่อแม่เรียกให้มากินข้าว หรืออาบน้ำขณะเล่นอยู่   ลองพูดคุยกับลูก และแสดง
    ให้เห็นว่าพ่อแม่เข้าใจความรู้สึกของเขา   สอนให้เขาเข้าใจความรู้สึกที่เกิดขึ้น
  • ถ้าเด็กไม่ทำตาม  เอาแต่ใจ   พ่อแม่ควรปรับพฤติกรรม  เช่น  งดกิจกรรมที่เด็กชอบ
    ชั่วคราว
  • เมื่อเด็กทำดี หรือทำพฤติกรรมที่พึงประสงค์  พ่อแม่ควรให้แรงเสริมด้วย  เช่น คำชมเชย
    ยิ้ม  กอด  หรือลูบหลัง  ให้รางวัลหรือของขวัญที่เหมาะสม
  • การลงโทษเด็กทางร่างกาย   จิตใจ  หรือการประจาน  ไม่ช่วยทำให้เด็กมีระเบียบวินัย   แต่ยังทำให้เกิดพฤติกรรมที่ก้าวร้าวตามมาได้

32

อ้างอิงข้อมูล: หนังสือ “10 เรื่อง เลี้ยงลูกยอดฮิต…พิชิตได้” สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 31 : ธันวาคม 2551 : 7 เคล็ดลับ จากผู้เชี่ยวชาญในการสร้างนิสัยการนอนที่ดีให้เด็กวัยเรียน

  • เวลาตื่น นาฬิกาทาง ชีววิทยา  ( biological clock )   จะถูกตั้งใหม่ในทุกเช้า  จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะมีเวลาตื่นนอนที่สอดคล้องเหมาะสมกับเวลาเข้านอน
  • วันหยุดสุดสัปดาห์   อย่าปล่อยให้เด็ก ๆ  นอนดึกเกินไป และหลับเพลินในวันหยุด   แต่อาจยืดหยุ่นได้บ้างเล็กน้อย
  • กิจกรรมพิเศษ   ให้ลูกได้ทำกิจกรรมที่ต้องออกแรกบ้าง  เช่น   เล่นกีฬา   อย่าให้ทำกิจกรรมที่ไม่ค่อยได้ใช้พลังงาน และกีฬาก็ควรให้เล่นประเภทเดียวต่อเทอม
  • อุณหภูมิห้อง   อุณหภูมิที่เย็นสบายไม่ร้อนเกินไปจะดีที่สุด
  • คาเฟอีน   การกินน้ำอัดลม และช็อกโกแลตในช่วงกลางวันอาจทำให้ลูกหลับยาก   เมื่อถึงกลางคืน  จึงควรจำกัดปริมาณการกินด้วย
  • อิเล็กทรอนิกส์    ในห้องนอนต้องไม่มีทีวี   โทรศัพท์มือถือ   คอมพิวเตอร์เกมส์
    และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ เลย
  • ช่วงเวลาเข้านอน    ก่อนนอน   ควรอ่านหนังสือกับลูก   หรือพูดคุยกันเกี่ยวกับ    เรื่องราวในแต่ละวัน   กิจกรรมที่ทำไปใช้เวลาราว  30  นาทีก็พอ

31

ฉบับที่ 30 : ธันวาคม 2551 : อนาคตการงาน...อิทธิพลจากพ่อ

ทราบไหมค่ะว่าพฤติกรรมของคุณพ่อในวันนี้   สามารถส่งผลต่อพฤติกรรมของลูกในที่ทำงานได้   สตีเฟน   โพลเตอร์   นักจิตวิทยาจากสถาบันการศึกษาในลอสแองเจลีส    แบ่งพ่อออกเป็น  5  ประเภท  คือ  ประสบความสำเร็จสูงสุด  เจ้าอารมณ์     ไม่ใส่ใจดูแลลูก    พ่อขี้สงสาร   และพ่อช่างสั่งช่างสอนเป็นเหมือนครูที่ดี   ซึ่งพ่อแต่ละแบบมีอิทธิพลอย่างมากในเรื่องหน้าที่การงานของลูกค่ะ นอกจากนั้นพฤติกรรมของพ่อยังส่งผลต่อลูกในเรื่องอื่นๆ  เช่น  การปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงาน   ความกังวลเรื่องอาชีพการงานมากเกินไป  บ้างาน  เป็นต้น

            ตัวอย่างเช่น  เด็กที่มีพ่อเจ้าอารมณ์   ซึ่งมักระเบิดอารมณ์ใส่ลูกและภรรยาเสมอ มักจะเรียนรู้ในเรื่องของการอ่านใจ และอารมณ์ของผู้อื่นได้ดี   จึงเหมาะกับงานฝ่ายบุคคล  หรือนักเจรจาต่อรองในขณะเดียวกันก็อาจมีปัญหาในเรื่องการไว้ใจคนอื่น มีความรู้สึกไม่ค่อยมั่นคงในชีวิต และหน้าที่การงานค่ะ

ส่วนเด็กที่มีพ่อไม่ค่อยสุงสิงด้วยหรือทอดทิ้งครอบครัว  จะทำให้เด็กรู้สึกฝังใจว่าตัวเองถูกทอดทิ้ง   ถูกปฏิเสธ   เมื่อทำงานก็จะประสบความสำเร็จมากเกินพอดี  หรือพยายามเป็นในสิ่งที่พ่อไม่เคยเป็น  หรือมีความโกรธหัวหน้างานตลอดเวลา  แต่เด็กที่มีพ่อประเภทนี้หากทำกิจกรรมของตัวเองจะทำได้อย่างดีเยี่ยมค่ะ   งานนี้ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อมือเก่าหรือมือใหม่ก็น่าจะลองสำรวจตัวเองดูสักนิดนะคะว่ามีพฤติกรรมอย่างไร เชื่อว่ายังไม่สายสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่ออนาคตที่ดีของลูกค่ะ

30

ฉบับที่ 29 : พฤศจิกายน 2551 : พลังรักจากพ่อแม่เยียวยาลูกติดเกมส์

นายแพทย์บัณฑิต   ศรไพศาล   ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์    บอกวิธีดูแลเด็กไม่ให้ติดเกมว่า   พ่อแม่ควรปลูกฝังวินัย และความรับผิดชอบ   สร้างบรรยากาศครอบครัวที่อบอุ่น   สร้างความภูมิใจให้สมาชิกในครอบครัว และหาโอกาสสื่อสารหรือทำกิจกรรมร่วมกัน
            ส่วนเด็กที่มีปัญหาติดเกม   คุณหมอบอกว่า  แก้ได้ด้วยความรักความห่วงใย
จากพ่อแม่และคนในครอบครัวเช่นกัน  เริ่มจาก

  • พ่อแม่ต้องอดทน    ค่อย ๆ ดึงลูกออกจากเกม   มีกิจกรรมที่ทำร่วมกันได้มากขึ้น
  • คิดบวก   หาจุดดีของลูกคุณให้เจอ  แล้วส่งเสริมให้เด็กภูมิใจในตนเอง
  • จัดการสิ่งแวดล้อม  หากบ้านที่อยู่เอื้อต่อการเล่นเกม เช่น มีคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง   ควรลดจำนวนและใช้เครื่องเดียวกัน   เด็กจะได้รู้จักแบ่งเวลา  หรือการจำกัดค่าขนมลงก็จะช่วยลดปัจจัยให้เด็กเล่นเกมน้อยลงได้
  • ให้เกียรติและรับฟังความคิดเห็น   ไม่แสดงอาการเบื่อหน่ายหรือรังเกียจความคิดเด็ก  หากสิ่งที่เขาคิดไม่ถูกต้องควรหาทางอธิบายทีหลัง
  • ควรเลิกพฤติกรรมไม่ดีที่ทำจนชิน   เพื่อให้เด็กเห็นว่าการเลิกพฤติกรรมที่ไม่ดี        ทำได้ยากเพียงใด   เด็กจะได้ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งไม่ดี

29

ฉบับที่ 28 : พฤศจิกายน 2551 : พีระมิดแสดงสัดส่วนอาหารสำหรับเด็ก

28

1.  ไขมัน  น้ำมัน  เกลือ  และของหวาน  เช่น  เจลลี่   ลูกกวาด  และเครื่องดื่มรสหวานต่าง ๆ   ควรรับประทานแต่เพียงน้อย
2.  ผลิตภัณฑ์นม  เช่น  โยเกิร์ต   นม  และชีส    ควรรับประทาน  2  ครั้งต่อวัน
3.  เนื้อสัตว์ และถั่วต่าง ๆ   ควรรับประทาน  2  ครั้งต่อวัน
4.  ผัก   ควรรับประทาน  2  ครั้งต่อวัน
5.  ผลไม้    ควรรับประทาน  2  ครั้งต่อวัน
6.  ธัญพืช และอาหารประเภทแป้ง   ควรรับประทาน  6  ครั้งต่อวัน

ฉบับที่ 27 : กันยายน 2551 : โรคมือ เท้า ปาก (Hand-Foot-Mouth Disease)

โรคนี้ไม่ใช่โรคใหม่  มักเกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบ   โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุระหว่าง 2 สัปดาห์
ถึง  3  ปี

สาเหตุ
โรคมือ  เท้า  และปากเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง  ไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจ่ายติดต่อถึงกันได้
โดยตรงผ่านทางของเหลวต่างๆ ของร่างกาย   เด็กจะได้รับเชื้อไวรัสนี้จากอาหารและน้ำที่ปนเปื้อน
เชื้อไวรัส  ซึ่งอาจกระจายออกมากับอุจจาระ หรือละอองน้ำมูก  น้ำลายของเด็กที่เป็นโรคนี้ และนอกจากนี้ยังสามารถติดต่อได้ทางลมหายใจอีกด้วย   การแพร่กระจายเชื้อจะเกิดได้ง่ายมาก  ในเด็กเล็กๆ ที่ชอบเล่นคลุกคลีใกล้ชิดกันในโรงเรียนอนุบาล  สถานรับเลี้ยงเด็กห้างสรรพสินค้า หรือญาติพี่น้องที่อยู่รวมกันมากๆ

ลักษณะสำคัญเฉพาะโรคนี้ คือ มีแผลตื้นๆ เกิดขึ้นที่บริเวณเยื่อบุช่องปาก ลิ้น เหงือก และข้างกระพุ้งแก้ม เริ่มเป็นจุดแดงๆ ก่อนแล้วเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำใส และแตกเป็นแผลส่วนบริเวณผิวหนังจะเกิดมีผื่นแดงๆ ก่อนแล้วเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำใส  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีผื่นตามฝ่ามือ  ฝ่าเท้า  บางครั้งอาจจะมีผื่นขึ้น
ที่บริเวณก้นด้วย  ผื่นที่ผิวหนังนี้จะไม่ แตกเป็นแผล และไม่มีอาการคันร่วมด้วย

27-1

การระวังป้องกัน
หลีกเลี่ยงไม่สัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้  สำหรับการป้องกันโรคนี้อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรละเลย
คือ เรื่องของสุขอนามัย  มุ่งเน้นที่ความสะอาดของร่างกาย ล้างมือให้สะอาดภายหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
และก่อนรับประทานอาหาร   หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า ของเล่นเด็ก เมื่อเด็กมีตุ่มใสขึ้นที่ปาก  มือ  หรือเท้า ขอให้นึกถึงโรคนี้ และพาไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา

27-2

อาการ
ดังที่ได้กล่าวมาในฉบับที่แล้ว  โรคมือ  เท้า  และปาก  จัดได้ว่าเป็นโรคที่พบได้บ่อย  โดยเฉพาะในเด็กเล็กๆ    ภายหลังได้รับเชื้อไวรัสที่เป็นต้นเหตุ  เป็นเวลา 4 – 6 วัน ผู้ป่วยเด็กจะมีไข้  มักเป็นไข้ต่ำๆ เช่น อุณหภูมิ  99-102 องศาF (หรือ 37.2-38.9 องศาC) อาการอื่นๆ ได้แก่  อ่อนแรงเมื่อยล้า ไม่มีแรง ไม่อยากทานอาหาร  และเจ็บที่บริเวณปาก  หลังจากเด็กได้รับเชื้อไวรัสราว 1 – 2 วัน  จะปรากฎตุ่มน้ำใส  ขึ้นภายในปาก  ลิ้น กระพุ้งแก้ม  ตุ่มน้ำใสเหล่านี้มีขนาดเล็ก  เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 – 7 มิลลิลิตร  ในที่สุดจะเกิดตุ่มน้ำใสขึ้นที่ฝ่ามือ  ฝ่าเท้า  และในบางรายเกิดขึ้นที่บริเวณก้นด้วย

พ่อแม่จะสังเกตอาการเหล่านี้ได้อย่างไร?
โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดร่วมกับ  โรค  มือ  เท้า  ปาก  ได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และ
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ   โรคแทรกซ้อนเหล่านี้ถึงแม้จะเกิดขึ้นไม่มากนักแต่ค่อนข้างจะอันตรายถึงชีวิต
ฉะนั้นถ้าพ่อแม่  สงสัยว่าลูกจะเป็นโรคนี้  ให้สังเกตอาการดังกล่าว   ถ้าสงสัยว่าจะมีโรคแทรกซ้อน
เช่น  เด็กมีอาการอ่อนเพลียมาก  ซึม  ปวดศีรษะ  ปัสสาวะน้อย   ผิวหนังแห้ง  เพลีย  หมดแรง  ให้รีบพาไปหาหมอโดยด่วน

การรักษาเบื้องต้น
พ่อแม่สามารถดูแล  ตั้งแต่ลูกเริ่มมีอาการไข้  พ่อแม่ควรให้ลูก  ดื่มน้ำหรืออาหารเหลวทีละน้อยๆ  ให้บ่อยๆ  เช่น  น้ำผลไม้  น้ำแกงจืด  น้ำเต้าหู้  นม  ให้ยาพาราเซตตามอล ลดไข้ตามขนาดของน้ำหนัก
ตัวของเด็ก   เช็ดตัวลดไข้ และให้นอนพักผ่อนระมัดระวัง เรื่อง การแพร่กระจ่ายของเชื้อไวรัสจากน้ำมูก น้ำลาย  และอุจจาระของเด็กป่วยด้วย โรคนี้สามารถหายได้เองภายในเวลา 5 – 7 วัน  (ไม่เกินสองสัปดาห์) โดยไม่มี ภาวะแทรกซ้อนแต่อย่างใด

ฉบับที่ 26 : สิงหาคม 2551 : การดูดซึมของน้ำ

น้องๆคงเคยสงสัยกันว่า ก้านดอกไม้ดูดน้ำจากดินได้อย่างไร นั่นก็เพราะว่า ก้านของดอกไม้ประกอบไปด้วยหลอดขนาดเล็กๆอยู่มากมาย น้ำจะถูกดูดขึ้นมาตามหลอดเหล่านี้ เราเรียกว่า ‘การดูดซึม’ คุณครูจะชวนเด็กๆมาทดลองกัน แล้วมาดูกันว่าเราจะได้ประโยชน์อะไรจากการทดลองนี้

26-1

วิธีทำ:
1. เอาสำลีซึ่งดูดซับน้ำได้ดีมาแผ่ให้ทั่วจาน แล้วเอาเมล็ดถั่วเขียวโรยลงไป
2. เติมน้ำลงไปในโหลแก้วให้เต็ม แล้วนำมาไว้ใกล้ๆจาน วางโหลแก้วให้อยู่ระดับสูงกว่าจานเล็กน้อย
จากนั้นตัดเชือกมา 1 เส้น ให้ยาวพอที่จะโยงจากโหลแก้วไปบนจาน

26-2

3. หย่อนปลายเชือกข้างหนึ่งลงในน้ำ แล้วโยงปลายอีกข้างมาบนจานเมล็ดถั่วเขียว ให้ปลายเชือกแตะกับสำลี
4. น้ำจะค่อยๆซึมขึ้นมาจตามปลายเชือกอย่างสม่ำเสมอ ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน

26-3

ผลการทดลอง:
เด็กๆกลับมาดูอีกครั้งจะพบว่า เมล็ดถั่วเขียวเริ่มแตกและงอกขึ้นมา ในที่สุดก็จะเป็นต้นถั่วงอกทั้งจาน
เด็กๆสามารถนำการดูดซึมของน้ำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยทำหน้าที่คล้ายกระป๋องรดน้ำอัตโนมัติ ทำให้ต้นพืชได้น้ำอยู่เสมอในช่วงที่เด็กๆไม่อยู่บ้านไงละคะ

น้ำและต้นไม้ มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ นักเรียนจึงควรได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับน้ำ และต้นไม้ เพื่อจะได้ช่วยกันดูแลรักษาน้ำ และต้นไม้ ให้มนุษย์และสัตว์ได้ใช้ประโยชน์ต่อไป

ฉบับที่ 25 : กรกฎาคม 2551 : ไอคิว...สร้างได้ (ตอนที่ 2)

25

3. สอนให้คิดเป็น ทำเป็น (ไม่ใช่แค่จำได้ ลอกเลียนแบบเป็น) การสอนให้เด็กคิดแบบมีเหตุมีผลตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จะทำให้เด็กคิดเป็นระบบ แต่การให้คิดนอกรอบ ไม่ไปจำกัดความคิด ไม่ใช้เหตุผลบ้าง จะได้มีความคิดสร้างสรรค์ และควรสอนให้เด็กคิดได้ทุกรูปแบบ คือคิดเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ และคิดเชิงบวก

4. สร้างนิสัยรักการอ่าน การที่เด็กจะฉลาดได้ บางครั้งก็ไม่สามารถคิดทุกอย่างเองได้หมด ต้องการหาข้อมูลเพิ่มพูนความรู้อยู่ตลอดเช่นกัน การอ่านเป็นพื้นฐานสำคัญของการได้มา ซึ่งข้อมูล พ่อแม่ควรบ่มเพาะสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับเด็กตั้งแต่ยังเล็กๆ อาจเริ่มด้วยหนังสือภาพก่อนก็ได้

5. เล่นให้สนุก เล่นให้เป็น เล่นให้สมตามวัย การเล่นเป็นธรรมชาติของเด็กทุกคน และเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาสติปัญญา และความสามารถในการเรียนรู้ทุกด้านของเด็ก พ่อแม่จึงต้องปล่อยให้เด็กเล่นบ้าง ซนบ้าง และต้องให้เหมาะสมตามวัย และระดับพัฒนาการของเด็ก เด็กทุกคนสามารถพัฒนาได้ เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่ต้องหาด้านเด่นของลูกให้เจอ จากนั้นก็ส่งเสริมและพัฒนาในแนวทางที่เหมาะสม 

ข้อมูลอ้างอิงจาก:
คลีนิกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น Happy Home Clinic
IQ EQ พัฒนาสติปัญญาเด็กไทย กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
เครือข่ายพ่อแม่เยาวชนเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
www.thaimental.com

ฉบับที่ 24 : กรกฎาคม 2551 : ไอคิว...สร้างได้ (ตอนที่ 1)

24

1. ส่งเสริมสุขภาพร่างกาย โดยหลักใหญ่มีอยู่  3  อ. คือ

อาหาร ออกกำลังกาย เอกเขนก

  • อาหาร สารอาหารครบถ้วน ปริมาณพอเหมาะ ถูกสุขลักษณะ บางวันทานมาก บางวันทานน้อย ก็ไม่เป็นไร เพียงสอนเด็กให้รู้จักอาหาร รับผิดชอบเรื่องการกินด้วยตนเอง ให้เด็กเลือกเมนูอาหารด้วยตนเองบ้าง สิ่งเหล่านี้จะสอนให้เด็กรู้จักคิด การควบคุมตนเอง ความรับผิดชอบ และรู้ว่าตัวเองชอบอะไร ไม่ชอบอะไร
  • ออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่ดีที่สุดสำหรับเด็กคือ การเล่นอย่างอิสระ และสร้างสรรค์ตามจินตนาการความคิดของเขา ซึ่งจะช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้ด้วย และช่วยระบายความก้าวร้าวรุนแรงไปในตัว
  • เอกเขนก ควร พักผ่อนให้เพียงพอ ช่วงที่นอนหลับ ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกัีบการเจริญเติบโตจะทำงานได้เต็มที่ ในขณธเดียวกัน สมองก็เริ่มจัดระบบความคิด เก็บข้อมูลให้เข้าที่เข้าทางในช่วงที่นอนหลับเหมือนกัน

2. ส่งเสริมพัฒนาการตามวัย พ่อแม่ควรใส่ใจกับพัฒนาการในแต่ละวัยของเด็ก เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ ถ้าพัฒนาการด้านไหนช้า ก็ต้องรีบกระตุ้นทันที ถ้าไม่ช้า ก็ส่งเสริมให้เร็วขึ้นได้เช่นกัน แต่ถ้าทำมากเกินไป ก็ส่งผลเสียได้ การเร่งเร้าจนเกินความสามารถในวัยนั้น อาจทำให้เด็กหมดความมั่นใจ แล้วไม่กล้าเรียนรู้ต่อก็ได้

ฉบับที่ 23 : กรกฎาคม 2551 : วิธีแก้ไขปัญหาเจ้าตัวน้อยแสนดื้อ

23

  1. หาสาเหตุว่าทำไมลูกจึงดื้อ เช่นเวลาที่พ่อแม่ดุลูกมีท่าทีดุลูกไปยิ้มไปด้วย ทำให้ลูกคิดว่า พ่อแม่ไม่เอาจริง ลูกกลับยิ่งต่อต้านมากขึ้น
  2. เด็กวัย 2 – 3 ปี เป็นวัยสำรวจตรวจตรา ไม่ควรใช้คำว่า “อย่า” บ่อยๆ แต่ควรจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่จะเป็นอันตรายให้เรียบร้อย ใหโอกาสเด็กได้สำรวจตามวัยในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย
  3. ออกคำสั่งกับเด็กอย่่างหนักแน่น กระชับ ชัดเจน และต้องติดตามด้วยว่า เด็กปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้รับหรือไม่ ถ้าไม่ ต้องกำกับให้เด็กทำจนเสร็จ โดยจับมือช่วยกันทำ หรือภายใต้บรรยากาศของการช่วยเหลือและรอยยิ้ม
  4. ให้รางวัลหรือคำชมเชยทันทีเมื่อเด็กทำตามคำสั่ง รางวัลอาจมีได้หลายอย่างเช่น สิ่งของ คำชม การโอบกอด ขนม
  5. มีบทลงโทษเมื่อลูกทำผิด โดยร่วมกันกำหนดบทลงโทษไว้ล่วงหน้า เพื่อให้เจ้าตัวน้อยรู้ว่า หากไม่เชื่อฟังคำสั่งจะเกิดอะไรตามมา
  6. ให้ความสนใจเมื่อลูกทำตัวดี ไม่ให้ความสนใจเมื่อลูกกระทำพฤติกรรมที่ไม่ดี แต่ถ้าพฤติกรรมนั้นๆก่อให้เกิดอันตราย พ่อแม่ต้องหยุดพฤติกรรมนั้นๆทันทีด้วยความสงบ
  7. พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูก ในการควบคุมอารมณ์โกรธ และทำตามกฏระเบียบของบ้านและสังคม

ฉบับที่ 22 : มิถุนายน 2551 : เปลี่ยนเจ้าตัวน้อยแสนดื้อ ด้วยรอยยิ้ม

(ตอนที่ 1: โดย กุสุมา คำเกลี้ยง สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น ราชนครินทร์)

อาการดื้อของเจ้าตัวน้อยคือ: การที่ เด็กไม่ยอมทำตามคำสั่งของผู้ใหญ่ หรือไม่ยอมทำตามกฎระเบียบที่กำหนดเอาไว้ เด็กอาจไม่ยอมทำตามหรือทำแค่ครึ่งๆกลางๆ ไม่ยอมทำให้เสร็จ อาการดื้อของเจ้าตัวน้อยเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้เกิดปัญหา สัมพันธภาพใน ครอบครัวได้บ่อยๆ พร้อมทั้งรอยยิ้มในบ้านจะจางหายไปได้

สาเหตุของเด็กดื้อคือ: 

  1. สาเหตุทางกายภาพ ความบกพร่องทางสมองหลายอย่างทำให้เจ้าตัว น้อยกลายเป็นเด็กดื้อ ได้แก่ สมองอักเสบ การกระทบกระเทือนทางสมอง ลมชัก สมาธิสั้น พัฒนาการทางภาษาหรือทางสติปัญญาล่าช้า
  2. พื้นฐานทางอารมณ์ของเด็ก เด็กบางคนมีอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว ง่ายตั้งแต่เล็กๆ เมื่อได้พบสิ่งแปลกใหม่จะตอบสนองทางอารมณ์อย่างรุนแรง
  3. สภาพจิตใจขณะนั้น เช่น เวลาเด็กเหนื่อย หิว ง่วงนอน หรือถูก ปลุกหลังจาก นอนหลับใหม่ ๆ สภาพดังกล่าว เด็กจะหงุดหงิด พูดจาไม่รู้เรื่อง ดื้อ ไม่เชื่อฟังได้บ่อย
  4. เป็นไปตามขั้นตอนพัฒนาการ เด็กวัย 2 – 3  ปี เริ่มอยากทำอะไรด้วยตนเอง ต้องการสำรวจสิ่งแวดล้อมในสิ่งที่สายตาผู้ใหญ่มองว่าเป็นอันตราย เช่น การ ปีนที่สูง เอามือแหย่ปลั๊กไฟ เล่นของมีคมฯลฯ เมื่อผู้ใหญ่ห้ามปราม หรือดุว่าเด็กจะโกรธ และแสดงออกด้วยการต่อต้าน ดื้อหรือทุบตีคนอื่น
  5. ความตึงเครียดในครอบครัว ได้แก่ พ่อแม่ทะเลาะกัน มีการทำร้าย กันในครอบครัว ญาติป่วยหนักหรือเสียชีวิต ทำให้เด็กมีอารมณ์หงุดหงิด ดื้อ ก้าวร้าวอาจเกิดปัญหาพฤติกรรมตามมา

การเลี้ยงดู หรือวิธีที่พ่อแม่ใช้จัดการกับพฤติกรรมของเด็กอย่างไม่เหมาะสม เช่น การเลี้ยงแบบตามใจมากเกินไป  ผลคือทำให้เด็กเคยตัว จะเอาอะไรต้องเอาให้ได้  ถ้าถูกขัดใจอาละวาด  หรือเลี้ยงแบบลงโทษเด็กอย่างรุนแรงเมื่อเด็กทำผิด อาจมีสาเหตุตามพ่อแม่เป็น คนหงุดหงิด  การควบคุมตัวเองไม่ดี  มักลงโทษเฆี่ยนตีเด็กมากหรือหนักแน่นเกินความ จำเป็นหรือลงโทษโดยไม่มีเหตุผล  ทำให้เด็กต่อต้านพ่อแม่ และดื้อมากขึ้น นอกจากนี้ยังซึมซับความรุนแรงเข้าไว้ในใจ และนำไปใช้จัดการกับปัญหาต่อไปเมื่อเขาโตขึ้น end
จาก: สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น ราชนครินทร์ เขียนโดย กุสุมา คำเกลี้ยง

ฉบับที่ 21 : พฤษภาคม 2551 : เทคนิคพ่อ แม่

21

เลอะน้ำส้ม ล้างด้วยน้ำอุ่น
เวลาที่ให้ลูกกินน้ำส้ม  คุณแม่หลายท่านอาจมีปัญหาเมื่อลูกกินน้ำส้มแล้วหกเลอะเทอะใส่เสื้อ   ซักเท่าไหร่ก็ยังมีรอยน้ำส้มให้เห็นเป็นคราบอยู่
มีวิธีแก้ที่ง่ายมากค่ะ
ถ้าน้ำส้มหกใส่เสื้อลูก เพียงแค่นำมาแช่ในน้ำอุ่น 15 – 20 นาที   แล้วนำไปซักกับน้ำยาซักผ้าเด็กตามปกติ  รอยจุดๆ  สีส้มก็จางหายไปค่ะ

ลบรอยเลือดด้วยสบู่
ถ้าวันไหนลูกเกิดวิ่งหกล้ม แล้วมีเลือดไหลขึ้นมาเลอะเสื้อ หรือเลอะกางเกง
เราเพียงแค่รีบถอดเสื้อผ้าตัวนั้นๆออกแล้วนำไปถูสบู่ และขยี้ในทันที
ต่อจากนั้นล้างออกด้วยน้ำเปล่าเย็นๆ รอยเลือดจะจางหายไปอย่างรวดเร็ว
ถ้าบ้านไหนไม่รู้อาจรีบใช้น้ำร้อนมาถูๆ เพื่อให้รอยเลือดออก
แต่ระวังนะคะ จากรอยเลือดเพียงหยดหรือสองหยดอาจขยายวงกว้างเป็นวงใหญ่ขึ้นได้
ทางที่ดีควรใช้สบู่ และ น้ำแข็งแต่เพียงเท่านั้นค่ะ

แช่น้ำร้อนขจัดรอยช็อกโกแลต
เสื้อลูกเมื่อเปื้อนรอยช็อกโกแลต  คุณแม่ไม่ต้องกังวล
เพราะรอยเปื้อนสามารถล้างออกได้โดยง่าย
เพียงแค่นำส่วนที่เปื้อนแช่ในน้ำร้อนเพียงครู่เดียว
จะสามารถล้างรอยช็อกโกแลตออกได้อย่างหมดจด
แล้วนำไปซักตามปกติ
จาก: หนังสือรักลูก

ฉบับที่ 20 : พฤษภาคม 2551 : อย่าให้เด็กๆขาดการเล่น (การเล่นของเด็กปฐมวัย)

ประโยชน์ของการเล่น
การเล่นช่วยให้เด็กเกิดการพัฒนาด้านต่างๆ:

  • ด้านร่างกาย จะช่วยให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ เพิ่มทักษะ การใช้กล้ามเนื้อต่างๆ
  • ด้านอารมณ์จะช่วยให้เด็กเป็นผู้มีอารมณ์แจ่มใส เบิกบาน สนุกสนาน
  • ด้านสังคมจะช่วยเสริมสร้างให้เด็กเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงออก สามารถร่วมเล่นกับเพื่อนได้อย่างสร้างสรรค์ และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ทำให้เป็นผู้ที่ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ง่าย  มีทักษะในการสื่อสาร
  • ด้านสติปัญญาจะช่วยฝึกให้เด็กรู้จักคิดทั้งด้านการคิดอย่างมีเหตุผล การคิดอย่างสร้างสรรค์และจินตนาการ สามารถรู้จักวางแผน รู้จักแก้ปัญหา มีน้ำใจ มีความอดทน เป็นการปลูกฝังจริยธรรม คุณธรรมให้แก่เด็กด้วย

20

สำหรับผู้ใหญ่ก็ได้รับประโยชน์จากการเล่นของเด็กเช่นกัน
นอกจากจะเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศของความเป็นครอบครัวที่อบอุ่น พ่อ แม่ ลูก
แล้วยังเป็นโอกาสที่ผู้ใหญ่ จะได้รับรู้ว่าเด็กหรือ บุตรหลานของตนเองในระดับลึกลงไปอีก
ว่าเขามีความคิดและความต้องการอย่างไร  ทั้งยังจะช่วยสะท้อนให้เห็นภาพของตนเอง
เกี่ยวกับชีวิตประจำวันทั่วไปและการกระทำของตน ต่อเด็ก เพราะเด็กจะสะท้อนสิ่งต่างๆ
เหล่านั้นออกมาในการเล่นของเขา และหากผู้ใหญ่ได้ลองมาร่วมเล่นในสิ่งที่เด็กเล่นอยู่ก็อาจจะรู้สึกถึงความเพลิดเพลิน
ผ่อนคลายความเครียดและเพิ่มมุมมองใหม่ๆให้กับตนเองอีกด้วย

ผู้ใหญ่ส่งเสริมการเล่นของเด็กได้ ดังนี้ :
1. จัดหาสถานที่ อุปกรณ์ที่เหมาะสมแก่วัยของเด็ก บนพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจเรื่องพัฒนาการ และความสนใจ ของเด็กในแต่ละวัย
2. ปล่อยให้เด็กเล่นอย่างอิสระตามความคิด และจินตนาการของเขา ผู้ใหญ่เพียงอยู่ใกล้ๆคอยดูแลเรื่องความปลอดภัยในระยะที่มองเห็น และสามารถช่วยเหลือเด็กได้ทันที
3. กระตุ้น ชี้แจง หรือแนะนำวิธีการเล่นใหม่ๆให้กับเด็ก โดยอาจแสดงบทบาทเป็นผู้ร่วมเล่น หรือเสนอทางเลือกการเล่นแบบใหม่ๆให้กับเด็กบ้างตามความสมควร แต่ต้องระวังว่า ไม่ให้การเล่นเป็นการตามใจผู้ใหญ่
4. กล่าวคำชม เมื่อเด็กทำได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อเป็นการส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเอง แต่เมื่อเด็กทำผิดพลาด หรือรู้สึกว่าล้มเหลว ผู้ใหญ่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ โดยกล่าวคำปลอบใจ หรือดึงเด็กเข้ามาไว้ในอ้อมกอด เพื่อเป็นการเสริมกำลังใจ
5. ผู้ใหญ่ควรช่างสังเกตุและจดจำเกี่ยวกับการเล่นของเด็ก เมื่อพบว่า เด็กสนใจในสิ่งใดเป็นพิเศษ ควรส่งเสริมความสนใจนั้นๆด้วยการหาอุปกรณ์ หรือแนะนำเพิ่มเติมให้แก่เด็ก เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้มีการพัฒนาด้านนั้นๆต่อไป end
จาก: สรวงธร นาวาผล วท.บ.จิตวิทยา,ศศ.ม.เทคโนโลยีสังคม ผู้จัดการสถาบันเด็ก มูลนิธิเด็ก

ฉบับที่ 19 : พฤษภาคม 2551 : โรงเรียนของเรา

ในช่วงระหว่าง 2 สัปดาห์แรกนี้ เป็นเวลาที่นักเรียนกำลังปรับตัวเข้ากับคุณครู และ Teacher คนใหม่
ส่วนขอบข่ายตาม หน่วยการเรียนรู้ โรงเรียนของเรา มีดังนี้:

โรงเรียนของเรา

  • ชื่อโรงเรียน
  • ที่ตั้งของโรงเรียน
  • คุณครูในโรงเรียน
  • บริเวณต่างๆในโรงเรียน

ส่วนวันจันทร์ที่ 19 พ.ค. 51 เป็นวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา คุณครูก็จะให้ความรู้เบื้องต้นกับนักเรียนด้วย

โครงงานเรื่องการแยกขยะ:

  • ขยะคืออะไรใครรู้บ้าง?

ฉบับที่ 18 : กุมภาพันธ์ 2551 : สอนลูกให้คิดเชิงบวก

  • พ่อแม่คิดดีเกี่ยวกับตนเอง ลูก ครอบครัว เพื่อน งาน และสภาพแวดล้อมเพราะจะช่วยให้สภาพจิตใจสดชื่นแจ่มใส ทำให้มีพลังในการทำงาน
  • พ่อแม่ฝึกให้ลูกรู้สึกดีกับตนเอง ด้วยการแสดงความรัก ความอบอุ่น ความสุภาพอ่อนโยน ที่ถ่ายทอดสู่ลูกด้วยการพูดจาดี ไพเราะ งดคำพูดที่เกรี้ยวกราดดุดัน หรือตำหนิติเตียน
  • ฝึกให้ลูกมีอารมณ์สุนทรีย์ ด้วยการจัดห้องนอนของลูก ตกแต่งให้มีสีสัน สวยงามสะอาด เป็นระเบียบ ให้เป็นสถานที่ที่ผ่อนคลาย น่าทำการบ้าน น่านั่งอ่านหนังสือ
  • สอนให้ลูกชื่นชมตัวเองจากการมีสุขภาพแข็งแรง มีสมอง สติปัญญาดี เป็นคนน่ารัก สุภาพ อ่อนโยน มีน้ำใจ หรือเรื่องเล็กๆน้อยๆ สิ่งดีๆที่น่าภาคภูมิใจ
  • ยอมรับตนเอง หากลูกทำอะไรผิดพลาด ก็อย่าลงโทษดุดัน แต่ชี้แนะให้ลูกเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น ด้วยความรู้สึกถึงความผิดพลาดเป็นบทเรียน ไม่ใช่เป็นความบกพร่องที่จะต้อง โทษตนเอง
  • หมั่นดูแลทุกข์สุขของลูก สามี และคนในครอบครัวห่วงใย เอื้ออาทร เผื่อแผ่ แบ่งปัน จะทำให้บ้านเต็มไปด้วยบรรยากาศแห่งความรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัยมั่นคง
  • สอนลูกให้รู้จักให้อภัย การโกรธ คิดเคียดแค้น ผูกพยาบาท เป็นความทุกข์ และส่งผลไม่ดีต่อกายและจิต ฉะนั้นจงให้ลูกเข้าใจและยอมรับความจริงว่า ทุกคนอาจทำผิดพลาดได้  จงให้อภัย แล้วก็ลืม จะได้มีความสุขกับชีวิตปัจจุบัน

รู้สึกไหมคะว่าวิธีที่แนะนำนี้ใครๆก็นำไปใช้ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นคุณพ่อ คุณแม่ เท่านั้น ลองเลือกทำดูสักข้อสองข้อ คุณอาจรู้สึกมีเครื่องหมายบวกในใจเพิ่มขึ้น

ฉบับที่ 17 : มกราคม 2551 : ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน

การใช้น้ำอย่างสมเหตุสมผล ไม่ควรเกิน 200 ลิตร/คน/วัน หรือ 6 ลูกบาศก์เมตร/คน/เดือน

ท่านจะช่วยลดโลกร้อน ด้วยการใช้น้ำได้อย่างไร?

  • เลือกเวลาใช้ การแช่ผ้าก่อนซัก จะได้ผ้าที่สะอาด ซักง่าย และไม่เปลืองน้ำ การล้างจานทีละหลายๆใบ การรดน้ำต้นไม้ ควรรดเวลาเช้า หรือในตอนเย็น
  • รองก่อนใช้ การแปรงฟัน ล้างจาน หากรองน้ำใส่ภาชนะก่อน จะเปลืองน้ำน้อยลง
  • ใช้น้ำซ้ำ  น้ำที่ใช้ซักผ้า สามารถนำไปเช็ดถูพื้นต่อได้ แล้วค่อยนำไปรดน้ำต้นไม้
  • กำจัดจุดรั่วไหล  รูรั่วเล็กๆน้อยๆ แต่ตลอด 24 ชั่วโมง อาจสูญเสียน้ำต่อเดือนมากกว่าปริมาณน้ำที่ใช้ จึงควรตรวจสอบระบบท่อ ก๊อกน้ำ ฯลฯ อยู่เสมอ

คิดใหม่ใช้ซ้ำ อย่างรู้คุณค่า ประหยัดเงินตรา ประหยัดพลังงาน

ฉบับที่ 16 : ธันวาคม 2550 : ประชาธิปไตยเต็มร้อย หนูน้อยชวนไปใช้สิทธิ์

โรงเรียนสมบุญวิทย์ ส่งเสริมประชาธิปไตย

ประชาธิปไตยเต็มร้อย หนูน้อยชวนไปใช้สิทธิ์

พ่อจ๋า แม่จ๋า อย่าลืมไปเลือกตั้ง
วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม 2550
เวลา 08.00 – 15.00 น.

สมบุญวิทย์รวมใจ ชวนไปเลือกตั้งจ้ะ

ฉบับที่ 14 : ตุลาคม 2550 : เด็กเรียนรู้อย่างไร ถึงยืนหยัดได้ ในสังคมเศรษฐกิจปัจจุบัน

I.Q. (INTELLIGENCE QUOTIENT) คือความฉลาดทางสติปัญญา
วัดได้จากอายุสมองเทียบกับอายุจริง ปกติควรอยู่ที่ 90 – 110 เป็นการวัดความสามารถทางคิดวิเคราะห์ ความสามารถทางวิชาการ วัดความจำ การอ่าน เขียน คำนวณ แต่ไม่ได้วัดด้านอื่นๆ เช่น :

  • ความคิดสร้างสรรค์
  • ทักษะต่างๆด้านการทำงาน
  • ทักษะชีวิตประจำวัน
  • ฯลฯ

การพัฒนา I.Q. พบว่า :

  • 50% จากกรรมพันธุ์
  • 50% จากสิ่งแวดล้อม การอบรมเลี้ยงดู การดูแลสุขภาพ (การกิน การอยู่)

สมองเด็กจะเจริญเติบโต และพัฒนาได้ดีเมื่อ :

  • การเลี้ยงดูด้วยความรัก ความอบอุ่น การสัมผัสอย่างอบอุ่น เพราะฉะนั้น ต้องมีเวลาให้ลูกหลาน ให้ความรัก ความเมตตาแก่เด็ก
  • อาหาร ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะ ปลา ถั่วเหลือง วิตามิน B ธาตุเหล็ก ไอโอดีน โปรตีน แคลเซี่ยม โฟลิค พวกเนื้อสัตว์ นม ไข่ ผัก ผลไม้
  • อาหาร สมองตัวสำคัญอีกอันคือ อากาศ ได้แก่ ออกซิเจน ซึ่งจะไปสู่สมองมากขึ้นเมื่อเราได้ออกกำลังกาย สังเกตได้ว่าเวลาเราออกกำลังกาย หรือหายใจลึกๆ เราจะรู้สึกว่าสมองปลอดโปร่ง
  • ประสบการณ์ ต่างๆจากการเล่น โดยเฉพาะการละเล่นกับเพื่อนๆ ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมกลุ่ม การทำงานศิลปะ เล่นดนตรี โดยเฉพาะดนตรีที่มีจังหวะสนุกสนาน การเล่นกีฬาที่ชื่นชอบอย่างอิสระโดยไม่ถูกบังคับ

ถ้าพ่อแม่เล่นกับลูก พ่อแม่เป็นของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับลูก ยิ่งเล่นมาก ยิ่งฉลาดมาก

ฉบับที่ 13 : กันยายน 2550 : คำขวัญวันเด็ก 2551 : สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม

13

กาลเวลาย่อมล่วงเลยไป คืนวันย่อมผ่านพ้นไป
อายุและวัยย่อมล่วงไปโดยลำดับ
บุคลพึงเพ่งพิจารณาถึงเหตุนี้ทีละน้อยๆ
แล้วพึงทำบุญกุศลอันนำความสุขมาให้ในปัจจุบันฯ

Time passes on. Days and nights elapse…
Periods of life follow one another in turn.
Knowing the danger of life, let a man
Perform happiness-producing merits.

จากธรรมจักษุ

ฉบับที่ 12 : สิงหาคม 2550 : อัจฉริยภาพ... ด้านการเข้าใจธรรมชาติ

อัจฉริยภาพด้านการเข้าใจธรรมชาติ ดีอย่างไร

  • อัจฉริย ภาพด้านธรรมชาติ มีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน ถึงแม้เราจะยังไม่รู้ตัวก็ตาม และเป็นปัญญาด้านที่พัฒนาได้ง่าย และเป็น “ธรรมชาติ” ที่สุด
  • สมอง ของเรา ถูกสร้างมาให้ชอบธรรมชาติ ถึงจะไม่ได้คลุกคลีกับธรรมชาติมากมายนัก แต่หน่วยความจำที่ตกทอดมาในสมองเรา ซึ่งอยู่ในส่วนจิตใต้สำนึก จำได้เสมอ
  • เมื่อเราเข้าใจสรรพสิ่งรอบตัวแล้ว เราจะมีความนิ่ง สุขุม มีความใส สว่าง และมีปัญญาเฉียบแหลมลุ่มลึก

ตรวจสอบอัจฉริยภาพด้านการเข้าใจธรรมชาต

  • ชอบท่องเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติ
  • คาดเดาภุมิอากาศในวันนั้นๆได้
  • รักสัตว์ เล่นกับสัตว์เลี้ยงได้นานๆ
  • มักได้กลิ่นดิน แดด ฝน
  • รู้จักชนิดของต้นไม้
  • ปลูกต้นไม้ได้งดงาม
  • อยู่นอกห้องปรับอากาศได้
  • สามารถเอาตัวรอดในสถานการณ์ต่างๆได้
  • ชอบใช้ผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ
  • ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
  • ชอบดูดาว นก สายน้ำ ก้อนเมฆ แมลง ท้องฟ้า ดิน แร่
  • สนใจการปรุงอาหาร ปั้นดิน หล่อโลหะ สลักน้ำแข็ง

ฉบับที่ 11 : กรกฎาคม 2550 : สมาธิดี... จุดเริ่มต้นการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ

หากเอ่ยถึงเรื่องสมาธิ คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจมองข้าม และคิดว่าเป็นสิ่งไกลตัว หรือไม่จำเป็นสำหรับเด็ก แต่ทราบหรือไม่ว่า สมาธิเป็นส่วนสำคัญในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นคำตอบหนึ่งของความฉลาดอย่างเต็มศักยภาพของลูก

สมาธิในการเรียนรู้คืออะไร?
สมาธิคือความคิดแน่วแน่ ตั้งใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างต่อเนื่อง และต้องการทำให้สำเร็จ ซึ่งโดยปกติแล้ว สมาธิจะเกิดขึ้นเองในกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ส่งเสริมอย่างเหมาะสม เพราะเด็กที่ได้รับการฝึกฝน และพัฒนาให้มีสมาธินั้น จะส่งผลต่อวงจนความสามารถในการเรียนรู้ การเล่น และประสบการณ์ต่างๆในอนาคต

แบบไหนจึงจะเรียกว่ามีสมาธิ ?
บ่อยครั้งที่คุณพ่อ คุณแม อาจรู้สึกเหนื่อยล้ากับพฤติกรรมซุกซนของลูก และมักจะสังเกตเห็นว่า ลูกสนใจสิ่งหนึ่ง แล้วก็หันไปสนใจอีกสิ่งหนึ่งอย่างรวดเร็ว หรือไม่มีความอดทนในการรอคอย ซึ่งดูคล้ายไม่มีสมาธิ แต่ความจริงแล้ว ลูกมีสมาธิ และมุ่งมั่นที่จะสำรวจสิ่งต่างๆอยู่เสมอ เพราะมิติของความอยากรู้อยากเห็นมักจะคาบเกี่ยวกับความกระตือรือร้น โดยมีสมาธิเป็นที่ตั้งในกระบวนการเรียนรู้

ฉบับที่ 10 : ตุลาคม 2550 : การฝึกวินัยในเด็ก

“เด็ก เป็นวัยที่เต็มไปด้วยความไร้เดียงสา ถ้าเปรียบก็คงเปรียบได้ดังผ้าขาว ขึ้นอยู่กับผู้ที่เลี้ยงดูว่า จะแต้มแต่งผ้าขาวผืนนั้นให้เป็นสีใด อาจเป็นสีสวยสดใสดังสีรุ้ง หรือสีเทาซีดหม่นก็ได้”

เทคนิคการฝึกวินัย

  • บอก ลูกให้ชัดเจนว่าคุณต้องการให้เขาทำอะไร หรือไม่ทำอะไร เด็กวัยเรียนมักจะยึดถือคำพูดของพ่อแม่เป็นสำคัญ ชนิดคำต่อคำ ฉะนั้นคำสั่งหรือกฏของคุณ จะต้องชัดเจนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อธิบายให้ชัดเจนและไม่เยิ่นเย้อ นอกจากจะบอกให้ลูกรู้ว่าคุณต้องการให้เขาทำอะไรแล้ว ก็ควรจะบอกวิธีทำให้เขาด้วย
  • มีความจริงใจกับลูก บอกลูกตามความจริงว่า การทำตามคำสั่งอาจเผชิญกับปัญหาอะไรได้บ้าง
  • ตำหนิเฉพาะพฤติกรรมของลูก ไม่ใช่ตำหนิลูก เมื่อลูกทำบางสิ่งบางอย่างผิดพลาด อย่าเหมาเอาว่าลูกเป็นเด็กไม่ดี หรือทำผิดไปเสียทุกเรื่อง
  • อย่าโต้เถียงกับลูก อย่าปล่อยให้การพูดคุยถึงความผิดของลูกทวีความรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นโต้เถียงกัน จนกลายเป็นการลงโทษลูก
  • เวลาคุยถึงเรื่องความผิดของลูก ควรจะพูดอย่างสั้น และง่าย อย่ายืดเยื้อเพื่อหลีกเลี่ยงการลงโทษ
  • ทำโทษให้เหมาะสมกับความผิด
  • ควบคุมตัวเองด้วย เมื่อสอนระเบียบวินัยลูก ควรพยายามควบคุมอารมณ์ให้หนักแน่น
  • อย่าเฆี่ยนตีลูก ยกเว้นจำเป็นจริงๆ
  • พยายามให้แรงเสริมทางบวก ควรสร้างแรงจูงใจให้ลูก หากทำดีและมีระเบียบวินัย ใหรางวัลหรือชมเชย
  • พยายามฝึกวินัยแบบเดียวกันทั้งที่บ้าน และที่โรงเรียน ถ้าเป็นไปได้ คุณควรจะคุยกับคุณครูเพื่อให้มีความต่อเนื่อง

ฉบับที่ 09 : ตุลาคม 2550 : กล้วย... คุณประโยชน์สารพัด

ถ้าต้องการให้ระดับพลังงานที่หย่อนยานลงให้กลับคืนมาอย่างรวดเร็ว ไม่มีอาหารใดดีไปกว่ากล้วย ซึ่งอุดมด้วยน้ำตาลธรรมชาติ 3 ชนิด คือ ซูโครส ฟรุคโตส และกลูโคส รวมกับเส้นใยและกากอาหาร กล้วยจะช่วยเสริมเพิ่มพลังงานให้กับร่างกายทันทีทันใด

  • โรคโลหิตจาง ในกล้วยมีธาตุเหล็กสูง จะเป็นตัวช่วยกระตุ้นการผลิตฮีโมโกลบินในเลือด และจะช่วยในกรณีที่มีสภาวะขาดกำลัง หรือภาวะโลหิตจาง
  • โรคความดันโลหิตสูง มีธาตุโปรแตสเซียมสูงสุด แต่มีปริมาณเกลือต่ำ ทำให้เป็นอาหารที่สมบูรณ์แบบที่สุด ที่จะช่วยลดความดันโลหิตได้มาก
  • โรคท้องผูก ปริมาณเส้นใย และกากอาหารที่มีอยู่ในกล้วย ช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติ และยังช่วยแก้ปัญหาโรคท้องผูกโดยไม่ต้องกินยาถ่ายเลย
  • อาการเมาค้าง วิธีที่เร็วที่สุดที่จะแก้อาการเมาค้าง คือการดื่มกล้วยปั่นกับนมและน้ำผึ้ง กล้วยจะทำให้กระเพาะของเราสงบลง ส่วนน้ำผึ้งจะช่วยเป็นตัวหนุนเสริมปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดที่หมดไป ในขณะที่ นมก็ช่วยปรับระดับของเหลวในร่างกายของเรา
  • ยุงกัด ก่อนใช้ครีมทาแก้ยุงกัด ลองใช้ด้านในของเปลือกกล้วย ทาบริเวณที่ถูกยุงกัด มีหลายคนพบอย่างมหัศจรรย์ว่า เปลือกกล้วยสามารถแก้เม็ดผื่นคันที่เกิดจากยุงกัดได้

กล้วยรักษาโรคต่างๆอย่างธรรมชาติได้มากมาย ท่านควรลองพิสูจน์ด้วยตนเองบ้าง ว่าจะได้ผลตามที่กล่าวหรือไม่ และเมื่อเปรียบเทียบกับแอปเปิ้ลแล้ว กล้วยมีโปรตีนมากกว่าแอปเปิ้ล 4 เท่า มีคาร์โบไฮเดรตมากกว่า 2 เท่า มีฟอสฟอรัสมากกว่า 3 เท่า มีวิตามิน A และธาตุเหล็กมากกว่า 5 เท่า และมีวิตามิน รวมทั้งแร่ธาตุอื่นมากกว่าอีก 2 เท่า และกล้วยยังอุดมไปด้วยโปรแตสเซียม กล้วยจึงเป็นหนึ่งในอาหารที่ดีที่สุด

ฉบับที่ 08 : ตุลาคม 2550 : เคล็ดลับสอนลูก ฉลาดรู้รอบด้าน

  • ด้านภาษา พาลูกไปห้องสมุด หรือร้านหนังสือบ่อยๆ สอนให้ลูกจดบันทึกประจำวัน หาเกมอักษรไขว้มาเล่นกับลูก
  • ด้านตรรกะ และคณิตศาสตร์ พาเด็กๆไปพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ เล่นเกมเศรษฐี หรืองูตกบันไดกับลูก ฝึกทอนเงิน จ่ายค่าอาหาร
  • ด้านมิติสัมพันธ์ ให้เด็กๆจัดห้องตัวเอง เตรียมอุปกรร์วาดภาพ เช่น สี และกระดาษติดบ้านไว้เสมอ ชวนทำกิจกรรม เช่นถ่ายภาพ ถ่าย VDO
  • ด้านดนตรี พูดคุยซักถามความรู้สึกเกี่ยวกับเพลงที่ได้ฟัง สนับสนุนให้เรียนดนตรี
  • ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย ชวนลูกเล่นกีฬา ทำงานประดิษฐ์ ทำอาหาร
  • ด้านรู้ตนเอง ให้จดบันทึกความรู้สึกที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ฝึกนั่งสมาธิ
  • ด้านรู้ผู้อื่น ให้ลุกมีส่วนร่วมกิจกรรมกับสมาชิกในครอบครัว ฝึกให้ช่วยเหลือผู้อื่น
  • ด้านรอบรู้ธรรมชาติ ชวนลูกไปสวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ชวนลูกปลูกผัก ปลูกต้นไม้ พูดคุยเกี่ยวกับประโยชน์ของธรรมชาติรอบตัว

ฉบับที่ 07 : ตุลาคม 2550 : แม่ คือความสำคัญ และคุณค่าที่ควรกตัญญู

แม่… คือคำแรกที่เราเปล่งเสียงออกมา รวมความหมายแห่งความสำคัญ และคุณค่าที่ยิ่งใหญ่

  • แม่ คือผู้ให้กำเนิด ผู้สร้างโลก แม่ให้กำเนิดชีวิตบนโลกนี้ เฝ้าถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงรักษา บำรุงลูกให้เติบใหญ่
  • แม่ คือบูรพาจารย์ คือครูคนแรกของลุก แม่ให้การอบรมสั่งสอนลูก สอนให้รู้จักชีวิต รู้จักโลก ให้ลูกเป็นคนดี
  • แม่ คือแบบอย่าง มีคำกล่าวว่า “ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่” หรือ “ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น” แสดงถึงบทบาทของแม่ในการเป็นแบบอย่าง
  • แม่ คือความสำคัญที่ยิ่งใหญ่ สิ่งที่มีความสำคัญ จะได้รับการยกย่องให้มีคำว่า แม่ นำหน้า เช่น แม่น้ำ แม่พระธรณี แม่พระคงคา แม่โป้ง
  • แม่ คือหัวหน้า ผู้นำ ผู้ปกครอง คำที่แสดงความหมายดังกล่าว มีคำว่าแม่ ปรากฏอยู่ เช่น แม่ทัพ แม่ครัว
  • แม่ คือสัญลักษณ์แห่งความดี ความงามของแม่ซึ่งเป็นเพศหญิงนั้น เป็นที่ประจักษ์ แม่เปรียบเป็นดอกไม้ประดับโลก
  • แม่ คือพระของลูก พระในบ้าน แม่เป็นพรหมของลูก มีพรหมวิหารธรรม คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

ฉบับที่ 06 : ตุลาคม 2550 : 7 วิธี ช่วยให้ลูกเก่งเลข

  • พื้นฐานต้องคล่อง คุณพ่อ คุณแม่ ต้องสำรวจพื้นฐานการคำนวณของลูกว่าเป็นอย่างไร แม้ว่าลูกจะเรียนอยู่ในระดับประถมปลาย หรือมัธยมแล้ว หากไม่ปรับพื้นฐานให้ดี การเรียนต่อไปจะยิ่งกลายเป็นเรื่องยาก
  • หัดคิดในใจ ถ้าเด็กคิดในใจได้ เด็กจะมีความมั่นใจมากขึ้น
  • ฝึกบ่อยๆจนกลายเป็นชีวิตประจำวัน คณิตศาสตร์ เป็นทักษะที่ต้องฝึกบ่อยๆจึงจะชำนาญ จัดเวลาให้ลูกได้ฝึกคำนวณในทุกๆวัน วันละนิด วันละหน่อย
  • เขียนให้ชัดเจนและเป็นระเบียบ เขียนเลข 7 เหมือนเลข 1 หรือเปล่า เลขแต่ละหลักเขียนตรงกันไหม ถ้าพบว่าเขียนเลขไม่ชัด ต้องให้คัดเลขใหม่ ถ้าเด็กเขียนหลักเลขไม่ตรงกัน อาจให้ทดเลขบนกระดาษที่มีลายเป็นตาราง เช่น กระดาษกราฟ
  • เสริมทักษะที่จำเป็น ทักษะการอ่านใหม่ อาจให้ลูกอ่านโจทย์อย่างเดียว ยังไม่ต้องคำนวณ ให้อธิบายโจทย์ว่ามีใครบ้าง มีกันกี่คน เขาไปทำอะไรกัน อ่านแบบเก็บรายละเอียดทั้งหมด ทำแบบนี้สักพักก็คล่อง นอกจากนี้ยังมีทักษะอื่นๆที่จำเป็นอีก เช่น สมาธิ การสังเกต ความอดทน
  • เติมคณิตให้ชีวิต คุณพ่อ คุณแม่ช่วยลูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะทำให้ลูกได้ฝึกการคำนวณบ่อยขึ้น และเห็นประโยชน์ในการนำมาใช้ในชีวิตจริง เช่น ฝึกให้ลูกคำนวณเงินทอน หรือค่าอาหารในแต่ละมื้อที่ร้าน ให้ลูกหัดเปรียบเทียบราคาสินค้าเวลาไปซื้อของด้วยกัน เป็นต้น
  • “เสริมแรงบวก” เป็นหัวใจสำคัญ สิ่งใดถ้าลูกทำแล้วพ่อแม่ให้ความสนใจ และชื่นชม ลูกก็จะมีความสุขและสนุกกับการทำ และชื่นชมทุกครั้งที่ลูกมีความก้าวหน้า เด็กจะได้มีกำลังใจในการพัฒนาต่อไป end

ฉบับที่ 05 : ตุลาคม 2550 : หาทานง่าย 5 ผลไม้ล้างพิษ

  • สับปะรด มีเอนไซม์โปรเมลินสูง ช่วยทำให้ของเสียที่เป็นโปรตีนแตกตัวได้เร็วขึ้น ช่วยรักษาอาการอักเสบในทางเดินอาหาร
  • องุ่น ช่วยบำรุงเลือดและซ่อมสร้างเซลล์ในร่างกาย เป็นสารฟอกล้างสำหรับการขจัดของเสียออกจากร่างกาย เพราะมีสารเปกติน ที่ช่วยนำสารพิษไปกำจัดทิ้ง ทั้งยังป้องกันไม่ให้โปรตีนในลำไส้เกิดการบูดเน่าอีกด้วย
  • แอปเปิ้ล เป็นผลไม้ที่ดีที่สุดสำหรับการขจัดของเสียออกจากร่างกาย เพราะมีสารเปกติน ที่ช่วยนำสารพิษสารพิษไปกำจัดทิ้ง ทังยังป้องกันไม่ให้โปรตีนในลำไส้เกิดการบูดเน่าอีกด้วย
  • มะละกอ มีเอนไซม์ชื่อ ปาเปน ช่วยทำให้ของเสียที่เป็นโปรตีนแตกตัวได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าจะช่วยทำความสะอาดลำไส้และช่วยย่อยอาหาร
  • แตงโม มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ช่วยฟอกล้างร่างกายได้เป็นอย่างดี ใช้รักษาแผลในกระเพาะ ลดความดันเลือดสูง ทำให้สบายท้อง

ฉบับที่ 04 : ตุลาคม 2550 : รับประทานอาหารอย่างไร ให้มีสุขภาพที่ดี

  • รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว
  • รับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ
  • รับประทานพืชผักให้มาก และรับประทานผลไม้เป็นประจำ พืชผักผลไม้เป็นแหล่งสำคัญของวิตามิน และแร่ธาตุ รวมทั้งสารอื่นๆ ซึ่งลวนแต่มีความจำเป็นต่อร่างกายที่จะนำไปสู่สุขภาพที่ดี
  • รับประทานปลา เนือสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นประจำ ปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้ง เป็นแหล่งโปรตีนที่ดี โปรตีนเป็นสารอาหารที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับอย่างเพียงพอ ทั้งคุณภาพ และปริมาณ เพื่อนำไปสร้างร่างกายให้เจริญเติบโต และซ่อแซมเนื้อเยื่อ ซึ่งเสื่อมสลายให้อยู่ในสภาพปกติ เป็นส่วนประกอบของสารสร้างภูมิคุ้มกันโรคติดเชื้อ และให้พลังงานแก่ร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัดและเค็มจัด ปัจจุบันคนไทยนิยมรับประทานอาหารรสจัด และใช้เครื่องปรุงรสกันมาก เมื่อเทียบกับอาหารของชาติอื่นๆ เครื่องปรุงรสทำให้อาหารอร่อย มีรสชาติ เกิดความพึงพอใจต่อผู้บริโภค แต่ถ้ารับประทานอาหารรสจัดมากเกินไปจนเป็นนิสัย จะทำให้เกิดโทษต่อร่างกายได้ รสอาหารที่มักเป็นปัญหา และก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย คือ รสหวานจัด และเค็มจัด
  • รับประทานอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อนปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคอาหารของสังคมไทยเปลี่ยนไป จากการปรุงประกอบอาหารในครัวเรือน มาเปนการซื้ออาหารปรุงสำเร็จ หรืออาหารถุง อาหารเหล่านี้มักจะมีการปนเปื้อน และไม่สะอาด เป็นสาเหตุของอาหารเปนพิา และการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหาร

ฉบับที่ 02 : ตุลาคม 2550 : มรดกท่านพุทธทาส

“เด็กทั้งหลายนั่นแหละ คือผู้สร้างโลกในอนาคต
เราจงพากันสร้างโลก โดยผ่านทางการสร้างเด็ก
อย่างถูกต้องเสียบัดนี้เถิด, อย่าปล่อยเด็กให้เป็น
ไปตามบุญตามกรรมเลย จึงจะเป็นการกระทำที่มี
ความรับผิดชอบอย่างสูงสุด ของบิดามารดา
ครูบาอาจารย์ แห่งยุคนี้ ซึ่งถือว่าเป็นยุคของสติปัญญา”

มรดกที่ท่านพุทธทาสฝากไว้

ฉบับที่ 01 : ตุลาคม 2550 : แนะนำระบบ Montessori

ระบบ Montessori Appiled เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ( Child Centered ) ทางโรงเรียนได้มีการจัดการเรียนการสอน โดยเน้นพัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ :
ร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ สังคม และสติปัญญา และได้จัดกิจกรรมทางการเรียนรู้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ :

  • กลุ่มประสบการณ์ชีวิต จุดมุ่งหมายของกิจกรรมกลุ่มนี้คือ การพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง สมาธิ การประสานสัมพันธ์ และระเบียบวินัยในตัวเด็กเอง
  • กลุ่มประสาทสัมผัส จุดมุ่งหมายของกิจกรรมนี้ เพื่อฝึกประสาทสัมผัสของเด็ก ให้จิตมุ่งไปที่คุณสมบัติของวัสดุที่ปรากฏ เหนเด่นชัด การฝึกให้รู้จักสังเกตรายละเอียดของสิ่งต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญมากในการอ่าน
  • กลุ่มวิชาการ คือกลุ่มกิจกรรมที่จัดวัสดุ อุปกรณ์สำหรับการเขียน การอ่าน และคณิตศาสตร์

ปรัชญาและหลักของการสอนแบบ Montessori

  • เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือ ในสภาพที่แตกต่างไปจากผู้ใหญ่
  • เด็กมีจิตใจที่ซึมซับได้ เปรียบจิตของเด็กเหมือนฟองน้ำ ซึ่งจะซึมซับเอาสิ่งต่างๆเข้าไปในจิตใจของตนเองได้
  • ช่วงเวลาหลักของชีวิต คือ ช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับการเรียนรู้ในระยะแรก เป็นช่วงของการพัฒนาสติปัญญา
  • การเตรียมสิ่งแวดล้อม เด็กจะเรียนได้ดีที่สุด ในสภาพการจัดสิ่งแวดล้อม ที่ได้ตระเตรียมเอาไว้อย่างมีจุดมุ่งหมาย
  • การศึกษาด้วยตนเอง เดกสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง จากการที่เด็กมีอิสระในสิ่งแวดล้อมที่จัดเตรียมเอาไว้อย่างสมบูรณ์

ติดต่อเรา

โทร: 0 2428 4574
แฟกซ์: 0 2427 1979
อีเมล์: sombunwit@hotmail.com

จันทร์ – ศุกร์ : 07.30 – 17.30 น.
เสาร์ : 08.30 – 15.00 น.
วันหยุด : เสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ
เวลาเรียน : 08.30 – 14.30 น.

หมายเหตุ    สามารถเยี่ยมชมโรงเรียน ตั้งแต่วันจันทร์- วันศุกร์ เวลา 09.00-11.00 น.
—-
โรงเรียนสมบุญวิทย์
571 ถ.พระราม2 แขวงบางมด
เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150

A04

 CONTACT FORM