โทร: 0 2428 4574
แฟกซ์: 0 2427 1979
อีเมล์: sombunwit@hotmail.com
จันทร์ – ศุกร์ : 07.30 – 17.30 น.
เสาร์ : 08.30 – 15.00 น.
วันหยุด : เสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ
เวลาเรียน : 08.30 – 14.30 น.
หมายเหตุ สามารถเยี่ยมชมโรงเรียน ตั้งแต่วันจันทร์- วันศุกร์ เวลา 09.00-11.00 น.
—-
โรงเรียนสมบุญวิทย์
571 ถ.พระราม2 แขวงบางมด
เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150
น่ารู้สู่ผู้ปกครอง
ฉบับที่ 64 : ธันวาคม 2555 : ทราบหรือไม่
ฉบับที่ 63 : สิงหาคม 2555 : คำศัพท์ 3 ภาษา ประจำเดือนสิงหาคม
ฉบับที่ 62 : กรกฎาคม 2555 : คำศัพท์ 3 ภาษา ประจำเดือนกรกฎาคม
ฉบับที่ 61 : มิถุนายน 2555 : คำศัพท์ 3 ภาษา ประจำเดือนมิถุนายน
ฉบับที่ 60 : พฤษภาคม 2555 : คำศัพท์ 3 ภาษา ประจำเดือนพฤษภาคม
ฉบับที่ 59 : สิงหาคม 2554 : ทราบหรือไม่ : I Love you, mom!
ฉบับที่ 58 : มกราคม 2554 : 4 วิธีช่วยสร้างสติง่ายๆ
ฉบับที่ 57 : ธันวาคม 2553 : มาเสริมความฉลาดให้ลูกเถอะ
ฉบับที่ 56 : พฤศจิกายน 2553 : รักษาสุขภาพเติมเต็มด้วยผักผลไม้
ฉบับที่ 55 : กันยายน 2553 : สอนอย่างไรให้ลูกอดทน
ฉบับที่ 54 : สิงหาคม 2553 : การจัดการขยะด้วยหลัก 7 Rs
ฉบับที่ 53 : กรกฎาคม 2553 : สมาธิดี...จุดเริ่มต้นการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ
ฉบับที่ 52 : กรกฎาคม 2553 : พาลูกเข้าครัว
ฉบับที่ 51 : มิถุนายน 2553 : คุณสมบัติของเด็กไทย ในศตวรรษที่ 21
ฉบับที่ 50 : มิถุนายน 2553 : สร้างนิสัยรักการอ่าน
ฉบับที่ 49 : พฤษภาคม 2553 : 8 ส. เครื่องมือพัฒนาเด็ก เพื่อบรรลุคุณสมบัติที่ต้องการ : และ : 8 ส. เป็นทั้งศักยภาพการเรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กวัยคิดส์
ฉบับที่ 48 : กุมภาพันธ์ 2553 : อย่า...หยุด...ไม่... ใช้อย่างไรให้ได้ผล
ฉบับที่ 47 : กุมภาพันธ์ 2553 : ลองทำดู เพื่อช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ฉบับที่ 46 : มกราคม 2553 : เคล็บลับการพัฒนาเด็ก
ฉบับที่ 45 : ธันวาคม 2552 : คุณค่าจากการอ่านหนังสือ
ฉบับที่ 44 : ธันวาคม 2552 : ผู้ปกครองกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก อายุ 2-6 ปี
ให้ ความรักโดยการเอาใจใส่ดูแลให้ความสบาย ปลอดภัย ในเรื่องอาหารการกิน เครื่องนุ่งห่ม การพูดคุย โอบกอด ปลอบโยน ให้ความสำคัญและความมีคุณค่า คือ การให้เด็กหยิบจับ
ช่วยตนเอง ความรู้สึกมีคุณค่า มีอำนาจของเด็กจะเริ่มตั้งแต่เด็กเริ่มที่จะชันคอ หัดคลาน ยืน เดิน ในระยะ 2 ปีแรกแล้ว และประมาณ 2 ขวบขึ้นไป เด็กจะอยากทำทุกอย่างด้วยตนเอง เช่น ตักข้าว หยิบของ เล่นของเล่น ขว้างของ ในวัยนี้การให้มีโอกาสเล่น จับสิ่งของ ช่วยตัวเอง โดยผู้ใหญ่ช่วยฝึกทีละน้อย จะสร้างความรู้สึกมั่นใจในตนเอง รู้สึกมีอำนาจเหนือสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยให้เติบโตเป็นคนกล้าคิดกล้าทำ ผู้ใหญ่ทำทุกอย่างให้เด็ก ไม่ให้เด็กทำอะไรด้วยตนเองจะบั่นทอนความรู้สึก ทางคุณค่าในตัวเองของเด็ก ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรให้เด็กทำเกินกำลังความสามารถของวัย
การให้ความรู้สึกมีคุณค่า มีอำนาจในวัยนี้ นอกจากจะให้เล่น เพื่อ ฝึกกล้ามเนื้อและความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา ตลอดจนการให้เด็กช่วยตนเอง เช่น การรับประทานอาหาร ใส่เสื้ออาจจะช่วยผู้ใหญ่เล็กๆ น้อยๆ เช่น หยิบ ของให้ แล้วก็ควรให้ความสำคัญแก่เด็ก
โดยการพูดคุย หยอกล้อเล่นด้วย เวลา เด็กพูดคุยผู้ใหญ่ควรฟังด้วยความสนใจ การอ่านหนังสือภาพ ให้เด็กฟังในวัยนี้ จะช่วยให้เด็กสนใจ และมีความพร้อมในการอ่านมากขึ้น และในขณะเดียวกัน เด็กจะรู้สึกถึงความสำคัญที่ตนมีต่อพ่อแม่ด้วย
อ้างอิงข้อมูล: หนังสือรู้จัก – เข้าใจวัยของลูก
ฉบับที่ 43 : พฤศจิกายน 2552 : การคุยกับลูกวัยอนุบาล
เป็นเรื่องปกติถ้ามีการพูด และการฟังเกิดขึ้นเมื่อคุณเล่นกับลูก คุณควรใช้ช่วงเวลาเช่นนี้
บอกสิ่งที่คุณเห็น และถามเพื่อ ให้ลูกคุยกับคุณ เช่น
สอนเด็กให้ร้องเพลงที่มักใช้ในสถานรับเลี้ยงเด็ก เด็กวัยอนุบาลชอบเล่นคำ และคำคล้องจอง เด็กที่สามารถเล่นกับภาษา แสดงว่ากำลังพัฒนาทักษะที่จำเป้นในการอ่าน ต่อไปนี้ข้อเสนอแนะ
บางประการ
เปลี่ยนคำพูดเป็นเพลงโดยใช้ทำนองที่คุ้นหู และมีการสอดใส่ชื่อของลูกลงใน
เนื้อร้อง คุณอาจเล่นกับลูกด้วยการนำเพลงที่ลูกร้องที่สถานรับเลี้ยงเด็กมาเปลี่ยนคำ
ให้ขบขันมากขึ้น
เมื่อคุณคุยกับูก พยายามใช้คำใหม่ ลองคิดวิธีการต่างๆ ที่จะพูด เช่น ในการพูดถึงวันฝนตก
อาจใช้คำ “ฝนตก ฟ้ารั่ว ฟ้ามืด” นี่จะเป็นการช่วยลูกให้เรียนคำใหม่
พ่อ/แม่ ควรสลับกันพูดกับลูก คุณควรแสดงให้ลูกเห็นว่าคุณเป็นผู้ฟังที่ดีในระหว่างที่คุยกันโดย
รู้จักฟังสิ่งที่ลูกพูด
ข้อมูลอ้างอิง : คู่มือ พ่อแม่ (การพัฒนาสมองของลูก)
ฉบับที่ 42 : พฤศจิกายน 2552 : ช่วยลูกพัฒนาทักษะทางกายภาพ
ภายในเวลาไม่กี่ปี ลูกจะโตพอที่พ่อ/แม่ไม่ต้องอุ้มหรือแบกอีกต่อไป ลูกเริ่ม กระโดดโลดเต้นและวิ่งไปมาด้วยตัวเอง
จากการเล่นตลับของเล่นลูกจะเริ่ม พลิกดูหน้าหนังสือ คุณสามารถส่งเสริมกิจกรรมให้ลูกเรียนรู้และใช้ทักษะของ
การเคลื่อนไหวต่างๆ ดังตารางต่อไปนี้
กิจกรรมสร้างกล้ามเนื้อใหญ่
เด็กเริ่มเดิน
เด็กวัยอนุบาล
กิจกรรมสร้างกล้ามเนื้อเล็ก
เด็กเริ่มเดิน
เด็กวัยอนุบาล
- จับและหมุนสิ่งของในมือ
- เก็บสิ่งของชิ้นเล็กๆ
- ใช้นิ้วหยิบซีเรียล
- จับตลับของเล่นเขย่า
- นำบล็อกมาต่อ
- ใช้ช้อน
- วาดภาพด้วยสีเทียนแท่งใหญ่
- เท/กรอก
- หยิบสิ่งของชิ้นเล็กๆ
- เปิดหนังสือ
- ตัดกระดาษ
- ร้อยลูกปัด
- ใช้ส้อมหยิบสิ่งของ
- สร้างรูปทรงในการต่อชิ้นส่วน
- ติดกระดุม รูดซิป และผูกเชือกรองเท้า
- ต่อภาพ
ข้อมูลอ้างอิง: คู่มือ พ่อแม่ (สมศ.)
ฉบับที่ 41 : สิงหาคม 2552 : พ่อแม่ที่แสนดี To Be Good Parent
เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก ถ่ายทอดแต่ในสิ่งที่ดี อธิบายถึงสิ่งรอบๆ ตัวที่เกิดขึ้น ทั้งที่เป็นสิ่งดี
และไม่ดี เช่น เมื่อลูกบังเอิญเข้าไปเห็นพ่อแม่ทะเลาะกัน ควรอธิบายให้ลูกฟังว่าการที่พ่อแม่
เสียงดังใส่กัน พ่อแม่ไม่ได้ โกรธหรือเกลียดกัน แต่บางครั้งคนเราอาจมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน พ่อแม่ขอโทษที่ทำให้ลูกตกใจ คราวต่อไปพ่อแม่จะคุยกันด้วยเสียงเบากว่านี้ เป็นต้น
การสั่งสอนให้เขาทำความดีด้วยความสมัครใจก็เป็นเรื่องที่ สมควรทำ นั่นคือ การสอนให้ลูก
เป็นผู้ให้ เริ่มจากตัวคุณเอง ทำเป็นตัวอย่างให้ลูก เห็นก่อน การพาลูกไปทำบุญตักบาตร หรือ
เก็บเสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้วนำไปบริจาคให้กับผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ แล้วลองถามลูกว่า “หนูมี
ของเล่นที่ไม่เล่นแล้วไหม แบ่งให้เพื่อนๆ ที่เขาไม่มี ดีไหมลูก” เพื่อให้ลูกรู้จักการให้ การแบ่งปัน
ต่อเพื่อนมนุษย์
เวลาเจอคนรู้จักที่มีอายุมากกว่า ควรยกมือไหว้เป็นการสอนให้ลูกมีสัมมาคารวะ บอกลูกว่า
เราต้องให้ความเคารพคนที่เป็นผู้ใหญ่กว่าเรา
พ่อแม่มีหน้าที่คอยดูแล ให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษายามที่ลูกพบอุปสรรค ด้วยการให้
กำลังใจ หนทางของการเป็นพ่อแม่ที่แสนดีมีทั้งง่ายและยากปะปนกันอยู่ แต่เชื่อว่าหาก
เพื่อครอบครัว เพื่อให้บ้าน อบอุ่นและเต็มไปด้วยความรัก ความเข้าใจ เป็นที่พักใจของ
ทุกคนในครอบครัวพ่อแม่ทุกคนทำได้เสมอ
ฉบับที่ 40 : กรกฎาคม 2552 : คำแนะนำสำหรับนักเรียนและประชาชนทั่วไปในชีวิตประจำวัน
ข้อมูลอ้างอิง : จาก คู่มือประชาชน กระทรวงสาธารณสุข
ฉบับที่ 39 : กรกฎาคม 2552 : การช่วยให้ลูกมีพัฒนาการทางภาษา
ลูกพร้อมที่จะเรียนรู้เรื่องการพูดเมื่อได้ยินเสียง โดยเฉพาะจากคุณพ่อคุณแม่
ตั้งแต่ลูกยังเป็นเด็กอ่อน คุณแม่ควรเล่นพูดจาหัวร่อกับลูก
ของลูกลดลง และ คุณพ่อ คุณแม่เองต้องเป็นคนพูดชัดเจน ลูกจะได้ดูเป็นแบบอย่าง
อย่าวิตกถ้าลูกทำท่าจะพูดคำแรกได้ล่าช้าเกินไป ลูกกำลังหัดฟังหัดพูดตามคุณแม่อยู่ เด็กพูดช้ามักพูดทันเพื่อนคนอื่นได้ในภายหลัง
ข้อมูลอ้างอิง : คู่มือสุขภาพประจำบ้านสำหรับเด็ก
ฉบับที่ 38 : มิถุนายน 2552 : การป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ
ลูกควรได้รับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อคุณแม่สงสัยหรือสังเกตพบสิ่งปกติ
ที่อาจเป็นปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพของลูก ควรปรึกษาแพทย์ หรือสถานบริการทางสุขภาพอื่นๆ
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อ
ตารางการให้วัคซีน
ป้องกันโรค
วิธีการให้วัคซีน
0 – 7 วัน
วัณโรค ไวรัสตับอักเสบชนิด B
1 เดือน
ไวรัสตับอักเสบชนิด B
2 เดือน
คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
โปลิโอ
กิน
4 เดือน
คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
โปลิโอ
กิน
6 เดือน
คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ไวรัสตับอักเสบชนิด B โปลิโอ
กิน
12 เดือน
หัด หัดเยอรมัน คางทูม
18 เดือน
คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
โปลิโอ
กิน
4 – 6 ขวบ
คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
โปลิโอ
กิน
6 ขวบ
วัณโรค
10 – 12 ปี
หัดเยอรมัน
14 – 16 ปี
บาดทะยัก
จากหนังสือคู่มือ สุขภาพประจำบ้าน สำหรับเด็ก
ฉบับที่ 37 : มิถุนายน 2552 : 5 คำถามเช็คความพร้อม : คุณพ่อ-คุณแม่: ยุคใหม่
การเลี้ยงลูกให้เติบโตเป็นคนดี และมีคุณธรรมท่ามกลางสังคมอันยุ่งเหยิงในยุคนี้ ถือเป็นงานช้างอย่างหนึ่งของคุณพ่อคุณแม่ แต่การวางรากฐานที่ดีให้เด็ก ๆ นั้น ก็เป็นสิ่งที่คุณ ๆ ไม่ควรละเลย แล้วในวันนี้คุณพ่อ คุณแม่ได้ส่งเสริมพัฒนาการด้านไอคิว และอีคิวของลูกน้อยแล้ว
หรือยังถ้ายังหรือชักไม่แน่ใจแล้วละก็ เรามีคำถาม 5 ข้อจาก แพทย์หญิงพรรณพิมล
หล่อตระกูล ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล เพื่อตรวจเช็คว่าคุณพ่อคุณแม่อย่างเรา ๆ นั้นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาไอคิวและอีคิวของลูกแล้วหรือยัง โดยตอบคำถามเหล่านี้ว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ ดังนี้ค่ะ
ถ้าคำตอบของคุณคือ ใช่ แสดงว่าคุณคือพ่อแม่ที่พัฒนาแล้ว คุณมีความพร้อมที่จะส่งเสริม
ไอคิวหรืออีคิวให้ลูกได้ แต่ถ้าตอบว่า ไม่ใช่ ในข้อใดข้อหนึ่ง ขอให้ปฏิบัติในข้อนั้นเพิ่มขึ้น
เพื่อจะได้เสริมสร้างไอคิวและอีคิวให้ลูก ๆ ของคุณกันค่ะ
อย่าลืมว่าเด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า เรามาช่วยกันสร้างสรรค์สังคมที่ดี ของเราในอนาคตข้างหน้าด้วยกันนะคะ
ฉบับที่ 36 : พฤษภาคม 2552 : ข้อดีของการเริ่มเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่อายุยังน้อย
และในไม่ช้าเด็กก็จะพบว่าตนเองสามารถใช้วิธีแบบเดียวกันในการเรียนรู้
ภาษาอังกฤษได้เช่นกัน
จากการร่วมกิจกรรมกับผู้ใหญ่ซึ่งเด็กจะทำความเข้าใจกิจกรรมนั้นๆ ก่อนและจากนั้น
ก็จะสามารถเข้าใจความหมายได้ จากภาษาที่ผู้ใหญ่ใช้อธิบาย
ซึ่งกิจกรรมการเรียนรู้ที่โรงเรียนมักจะเป็นทางการน้อยกว่า และสมองของเด็กก็
ยังไม่มีข้อมูลมากมายให้ต้องจัดเก็บและทดสอบ เด็กอาจมีการบ้านไม่มาก หรือ
ไม่มีการบ้านเลย และมีความเครียดน้อยกว่าเนื่องจากไม่ต้องพยายามที่จะเรียนรู้
ให้ผ่านมาตรฐานที่กำหนดไว้
www.britishcouncil.org/parents
ฉบับที่ 35 : กุมภาพันธ์ 2552 : 8 วิธีสร้าง สุขอนามัยที่ดีให้ลูก
การสอนลูกให้รู้จักดูแลตัวเองผ่านเรื่องใกล้ตัว กิจวัตรประจำวัน ก็มีส่วนลดความเสี่ยงจากการรับเชื้อโรค
ต่อการได้รับเชื้อโรค
จะช่วยป้องกันเชื้อโรคได้ระดับหนึ่ง
ไม่ควรหมักหมม หรือใส่ซ้ำๆ ติดต่อกัน
ห้องน้ำ ไม่ว่าจะถ่ายหนักถ่ายเบา
ในการป้องกันโรค
สิ่งสำคัญ พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีทำเป็นนิสัย และปลูกฝังให้ ลูกหลานปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างสุขอนามัยที่ดีให้กับลูก
ข้อมูลจาก Mother & Care
ฉบับที่ 34 : กุมภาพันธ์ 2552 : ชวนลูกเพิ่มพื้นที่สีเขียวในบ้าน
ปลูกต้นไม้เพื่อนรัก
วิธีคลาสสิกช่วยโลกที่รับรองผลได้ เพราะต้นไม้ช่วยดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตัวการก่อ
โลกร้อน แถมยังปล่อยออกซิเจนมาให้มนุษย์หายใจ ราก เมล็ด ดอก ใบ ผล ก็ยังสามารถนำไปทำประโยชน์ได้อีกคณานับ เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ คิดหาวิธีให้ลูกเห็นว่า ต้นไม้ก็เป็นอีกชีวิตที่มีความสำคัญ ควรให้ลูกมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ช่วยปลูกต้นไม้ ดอกไม้ ในสวนหน้าบ้าน หากไม่มี พื้นที่มากนัก ก็เลือกต้นไม้เล็กๆ ปลูกในกระถาง ให้ลูกได้มีโอกาสดูแล รดน้ำ ใส่ปุ๋ยเป็น ประจำ และส่งเสริมการปลูกต้นไม้เพิ่ม เท่าที่มีโอกาส ลูกจะได้เห็นพัฒนาการการเจริญเติบโตของต้นไม้ กว่าจะงอกจากเมล็ด มาเป็นต้นเล็กๆ จนกระทั่งเจริญเติบโต ออกดอกผล ต้องใช้เวลานานเท่าไร ดังนั้นเมื่อลูกไปเห็นต้นไม้ที่ไหน ก็ไม่ควรไปเด็ด ทึ้ง ดึงเล่น เพราะต้นไม้เป็นเพื่อนที่ช่วยชีวิตเรา
ลดใช้พลังงานในบ้าน
เริ่มต้นจากพ่อแม่ปฏิบัติเป็นตัวอย่างที่ดี ปิดก๊อกน้ำเวลาแปรงฟัน ใช้แก้วรองน้ำ ปิดไฟฟ้าที่
ไม่ใช้ เปิดหน้าต่างรับแสงแดดแทนในตอนกลางวัน ไม่เปิดตู้เย็นเป็นเวลานาน ลดจำนวนขยะในบ้าน ด้วยการนำของที่ยังดีกลับมาใช้ซ้ำอีกครั้ง หลีกเลี่ยงของเล่น เช่น รถบังคับที่ต้องใช้ถ่านเป็นพลังงานขับเคลื่อน จะได้ลดปริมาณขยะพิษ คิดประดิษฐ์ของเล่นเอง จากวัสดุเหลือใช้ในบ้าน เช่น กล่องกระดาษ ซึ่งจะได้ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และประหยัดเงินซื้อหาของเล่นอีกด้วย ปลูกฝังตั้งแต่ยังเล็ก และปฏิบัติเป็นประจำ ไม่นานนัก บางครอบครัว อาจพบว่า เจ้าตัวเล็กของบ้านนี่เอง ที่เป็นคนเตือนให้พ่อแม่ปิดน้ำปิดไฟ เมื่อไม่ใช้แล้ว ตั้งใจปฏิบัติให้ลูกตระหนักว่า กิจกรรมที่ทำส่งผลกระทบต่อโลกอย่างไรบ้าง ทุกคนเอาจริงกับภารกิจกู้โลกครั้งนี้ และสองมือน้อยๆ ของลูกเอง มีส่วนช่วยให้โลกดีขึ้นได้
ข้อมูลอ้างอิง : Mother & Care
ฉบับที่ 33 : มกราคม 2552 : เคล็ดลับน่ารู้เกี่ยวกับดนตรี เพื่อการพัฒนาสมอง
เพิ่มความสามารถของสมองเด็ก ทั้งด้านการคิดแบบคณิตศาสตร์ การอ่านและการเขียน
ข้อมูลอ้างอิง : กลยุทธ์สร้างลูกให้ปัญญาเลิศ โดย ผศ.ดร.อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์,
ดนตรีเพิ่มพลังสมอง โดย ดร.แพง ชินพงศ์
ฉบับที่ 32 : มกราคม 2552 : หนูน้อยหย่อนวินัย ... เรื่องใหญ่ที่ต้องแก้
เรื่องระเบียบวินัยเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมีการสร้าง และวางพื้นฐานให้กับเด็กทุกคน
เพื่อให้เด็กได้รู้จักการจัดระเบียบให้กับตนเอง เมื่อเขาโตขึ้นเขาจะรู้ขอบเขตทั้งต่อตนเองและ
ผู้อื่น เพราะเรื่องระเบียบวินัยจะเป็นเสมือนกรอบที่คอยกำหนดให้เด็กรู้จักการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม
เคล็ดลับการฝึกระเบียบวินัยที่ดี
ถูกพ่อแม่เรียกให้มากินข้าว หรืออาบน้ำขณะเล่นอยู่ ลองพูดคุยกับลูก และแสดง
ให้เห็นว่าพ่อแม่เข้าใจความรู้สึกของเขา สอนให้เขาเข้าใจความรู้สึกที่เกิดขึ้น
ชั่วคราว
ยิ้ม กอด หรือลูบหลัง ให้รางวัลหรือของขวัญที่เหมาะสม
อ้างอิงข้อมูล: หนังสือ “10 เรื่อง เลี้ยงลูกยอดฮิต…พิชิตได้” สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
ฉบับที่ 31 : ธันวาคม 2551 : 7 เคล็ดลับ จากผู้เชี่ยวชาญในการสร้างนิสัยการนอนที่ดีให้เด็กวัยเรียน
และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ เลย
ฉบับที่ 30 : ธันวาคม 2551 : อนาคตการงาน...อิทธิพลจากพ่อ
ทราบไหมค่ะว่าพฤติกรรมของคุณพ่อในวันนี้ สามารถส่งผลต่อพฤติกรรมของลูกในที่ทำงานได้ สตีเฟน โพลเตอร์ นักจิตวิทยาจากสถาบันการศึกษาในลอสแองเจลีส แบ่งพ่อออกเป็น 5 ประเภท คือ ประสบความสำเร็จสูงสุด เจ้าอารมณ์ ไม่ใส่ใจดูแลลูก พ่อขี้สงสาร และพ่อช่างสั่งช่างสอนเป็นเหมือนครูที่ดี ซึ่งพ่อแต่ละแบบมีอิทธิพลอย่างมากในเรื่องหน้าที่การงานของลูกค่ะ นอกจากนั้นพฤติกรรมของพ่อยังส่งผลต่อลูกในเรื่องอื่นๆ เช่น การปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงาน ความกังวลเรื่องอาชีพการงานมากเกินไป บ้างาน เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น เด็กที่มีพ่อเจ้าอารมณ์ ซึ่งมักระเบิดอารมณ์ใส่ลูกและภรรยาเสมอ มักจะเรียนรู้ในเรื่องของการอ่านใจ และอารมณ์ของผู้อื่นได้ดี จึงเหมาะกับงานฝ่ายบุคคล หรือนักเจรจาต่อรองในขณะเดียวกันก็อาจมีปัญหาในเรื่องการไว้ใจคนอื่น มีความรู้สึกไม่ค่อยมั่นคงในชีวิต และหน้าที่การงานค่ะ
ส่วนเด็กที่มีพ่อไม่ค่อยสุงสิงด้วยหรือทอดทิ้งครอบครัว จะทำให้เด็กรู้สึกฝังใจว่าตัวเองถูกทอดทิ้ง ถูกปฏิเสธ เมื่อทำงานก็จะประสบความสำเร็จมากเกินพอดี หรือพยายามเป็นในสิ่งที่พ่อไม่เคยเป็น หรือมีความโกรธหัวหน้างานตลอดเวลา แต่เด็กที่มีพ่อประเภทนี้หากทำกิจกรรมของตัวเองจะทำได้อย่างดีเยี่ยมค่ะ งานนี้ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อมือเก่าหรือมือใหม่ก็น่าจะลองสำรวจตัวเองดูสักนิดนะคะว่ามีพฤติกรรมอย่างไร เชื่อว่ายังไม่สายสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่ออนาคตที่ดีของลูกค่ะ
ฉบับที่ 29 : พฤศจิกายน 2551 : พลังรักจากพ่อแม่เยียวยาลูกติดเกมส์
นายแพทย์บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ บอกวิธีดูแลเด็กไม่ให้ติดเกมว่า พ่อแม่ควรปลูกฝังวินัย และความรับผิดชอบ สร้างบรรยากาศครอบครัวที่อบอุ่น สร้างความภูมิใจให้สมาชิกในครอบครัว และหาโอกาสสื่อสารหรือทำกิจกรรมร่วมกัน
ส่วนเด็กที่มีปัญหาติดเกม คุณหมอบอกว่า แก้ได้ด้วยความรักความห่วงใย
จากพ่อแม่และคนในครอบครัวเช่นกัน เริ่มจาก
ฉบับที่ 28 : พฤศจิกายน 2551 : พีระมิดแสดงสัดส่วนอาหารสำหรับเด็ก
1. ไขมัน น้ำมัน เกลือ และของหวาน เช่น เจลลี่ ลูกกวาด และเครื่องดื่มรสหวานต่าง ๆ ควรรับประทานแต่เพียงน้อย
2. ผลิตภัณฑ์นม เช่น โยเกิร์ต นม และชีส ควรรับประทาน 2 ครั้งต่อวัน
3. เนื้อสัตว์ และถั่วต่าง ๆ ควรรับประทาน 2 ครั้งต่อวัน
4. ผัก ควรรับประทาน 2 ครั้งต่อวัน
5. ผลไม้ ควรรับประทาน 2 ครั้งต่อวัน
6. ธัญพืช และอาหารประเภทแป้ง ควรรับประทาน 6 ครั้งต่อวัน
ฉบับที่ 27 : กันยายน 2551 : โรคมือ เท้า ปาก (Hand-Foot-Mouth Disease)
โรคนี้ไม่ใช่โรคใหม่ มักเกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบ โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุระหว่าง 2 สัปดาห์
ถึง 3 ปี
สาเหตุ
โรคมือ เท้า และปากเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจ่ายติดต่อถึงกันได้
โดยตรงผ่านทางของเหลวต่างๆ ของร่างกาย เด็กจะได้รับเชื้อไวรัสนี้จากอาหารและน้ำที่ปนเปื้อน
เชื้อไวรัส ซึ่งอาจกระจายออกมากับอุจจาระ หรือละอองน้ำมูก น้ำลายของเด็กที่เป็นโรคนี้ และนอกจากนี้ยังสามารถติดต่อได้ทางลมหายใจอีกด้วย การแพร่กระจายเชื้อจะเกิดได้ง่ายมาก ในเด็กเล็กๆ ที่ชอบเล่นคลุกคลีใกล้ชิดกันในโรงเรียนอนุบาล สถานรับเลี้ยงเด็กห้างสรรพสินค้า หรือญาติพี่น้องที่อยู่รวมกันมากๆ
ลักษณะสำคัญเฉพาะโรคนี้ คือ มีแผลตื้นๆ เกิดขึ้นที่บริเวณเยื่อบุช่องปาก ลิ้น เหงือก และข้างกระพุ้งแก้ม เริ่มเป็นจุดแดงๆ ก่อนแล้วเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำใส และแตกเป็นแผลส่วนบริเวณผิวหนังจะเกิดมีผื่นแดงๆ ก่อนแล้วเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำใส โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีผื่นตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า บางครั้งอาจจะมีผื่นขึ้น
ที่บริเวณก้นด้วย ผื่นที่ผิวหนังนี้จะไม่ แตกเป็นแผล และไม่มีอาการคันร่วมด้วย
การระวังป้องกัน
หลีกเลี่ยงไม่สัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ สำหรับการป้องกันโรคนี้อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรละเลย
คือ เรื่องของสุขอนามัย มุ่งเน้นที่ความสะอาดของร่างกาย ล้างมือให้สะอาดภายหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
และก่อนรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า ของเล่นเด็ก เมื่อเด็กมีตุ่มใสขึ้นที่ปาก มือ หรือเท้า ขอให้นึกถึงโรคนี้ และพาไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา
อาการ
ดังที่ได้กล่าวมาในฉบับที่แล้ว โรคมือ เท้า และปาก จัดได้ว่าเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในเด็กเล็กๆ ภายหลังได้รับเชื้อไวรัสที่เป็นต้นเหตุ เป็นเวลา 4 – 6 วัน ผู้ป่วยเด็กจะมีไข้ มักเป็นไข้ต่ำๆ เช่น อุณหภูมิ 99-102 องศาF (หรือ 37.2-38.9 องศาC) อาการอื่นๆ ได้แก่ อ่อนแรงเมื่อยล้า ไม่มีแรง ไม่อยากทานอาหาร และเจ็บที่บริเวณปาก หลังจากเด็กได้รับเชื้อไวรัสราว 1 – 2 วัน จะปรากฎตุ่มน้ำใส ขึ้นภายในปาก ลิ้น กระพุ้งแก้ม ตุ่มน้ำใสเหล่านี้มีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 – 7 มิลลิลิตร ในที่สุดจะเกิดตุ่มน้ำใสขึ้นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในบางรายเกิดขึ้นที่บริเวณก้นด้วย
พ่อแม่จะสังเกตอาการเหล่านี้ได้อย่างไร?
โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดร่วมกับ โรค มือ เท้า ปาก ได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และ
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคแทรกซ้อนเหล่านี้ถึงแม้จะเกิดขึ้นไม่มากนักแต่ค่อนข้างจะอันตรายถึงชีวิต
ฉะนั้นถ้าพ่อแม่ สงสัยว่าลูกจะเป็นโรคนี้ ให้สังเกตอาการดังกล่าว ถ้าสงสัยว่าจะมีโรคแทรกซ้อน
เช่น เด็กมีอาการอ่อนเพลียมาก ซึม ปวดศีรษะ ปัสสาวะน้อย ผิวหนังแห้ง เพลีย หมดแรง ให้รีบพาไปหาหมอโดยด่วน
การรักษาเบื้องต้น
พ่อแม่สามารถดูแล ตั้งแต่ลูกเริ่มมีอาการไข้ พ่อแม่ควรให้ลูก ดื่มน้ำหรืออาหารเหลวทีละน้อยๆ ให้บ่อยๆ เช่น น้ำผลไม้ น้ำแกงจืด น้ำเต้าหู้ นม ให้ยาพาราเซตตามอล ลดไข้ตามขนาดของน้ำหนัก
ตัวของเด็ก เช็ดตัวลดไข้ และให้นอนพักผ่อนระมัดระวัง เรื่อง การแพร่กระจ่ายของเชื้อไวรัสจากน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของเด็กป่วยด้วย โรคนี้สามารถหายได้เองภายในเวลา 5 – 7 วัน (ไม่เกินสองสัปดาห์) โดยไม่มี ภาวะแทรกซ้อนแต่อย่างใด
ฉบับที่ 26 : สิงหาคม 2551 : การดูดซึมของน้ำ
น้องๆคงเคยสงสัยกันว่า ก้านดอกไม้ดูดน้ำจากดินได้อย่างไร นั่นก็เพราะว่า ก้านของดอกไม้ประกอบไปด้วยหลอดขนาดเล็กๆอยู่มากมาย น้ำจะถูกดูดขึ้นมาตามหลอดเหล่านี้ เราเรียกว่า ‘การดูดซึม’ คุณครูจะชวนเด็กๆมาทดลองกัน แล้วมาดูกันว่าเราจะได้ประโยชน์อะไรจากการทดลองนี้
วิธีทำ:
1. เอาสำลีซึ่งดูดซับน้ำได้ดีมาแผ่ให้ทั่วจาน แล้วเอาเมล็ดถั่วเขียวโรยลงไป
2. เติมน้ำลงไปในโหลแก้วให้เต็ม แล้วนำมาไว้ใกล้ๆจาน วางโหลแก้วให้อยู่ระดับสูงกว่าจานเล็กน้อย
จากนั้นตัดเชือกมา 1 เส้น ให้ยาวพอที่จะโยงจากโหลแก้วไปบนจาน
3. หย่อนปลายเชือกข้างหนึ่งลงในน้ำ แล้วโยงปลายอีกข้างมาบนจานเมล็ดถั่วเขียว ให้ปลายเชือกแตะกับสำลี
4. น้ำจะค่อยๆซึมขึ้นมาจตามปลายเชือกอย่างสม่ำเสมอ ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน
ผลการทดลอง:
เด็กๆกลับมาดูอีกครั้งจะพบว่า เมล็ดถั่วเขียวเริ่มแตกและงอกขึ้นมา ในที่สุดก็จะเป็นต้นถั่วงอกทั้งจาน
เด็กๆสามารถนำการดูดซึมของน้ำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยทำหน้าที่คล้ายกระป๋องรดน้ำอัตโนมัติ ทำให้ต้นพืชได้น้ำอยู่เสมอในช่วงที่เด็กๆไม่อยู่บ้านไงละคะ
น้ำและต้นไม้ มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ นักเรียนจึงควรได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับน้ำ และต้นไม้ เพื่อจะได้ช่วยกันดูแลรักษาน้ำ และต้นไม้ ให้มนุษย์และสัตว์ได้ใช้ประโยชน์ต่อไป
ฉบับที่ 25 : กรกฎาคม 2551 : ไอคิว...สร้างได้ (ตอนที่ 2)
3. สอนให้คิดเป็น ทำเป็น (ไม่ใช่แค่จำได้ ลอกเลียนแบบเป็น) การสอนให้เด็กคิดแบบมีเหตุมีผลตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จะทำให้เด็กคิดเป็นระบบ แต่การให้คิดนอกรอบ ไม่ไปจำกัดความคิด ไม่ใช้เหตุผลบ้าง จะได้มีความคิดสร้างสรรค์ และควรสอนให้เด็กคิดได้ทุกรูปแบบ คือคิดเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ และคิดเชิงบวก
4. สร้างนิสัยรักการอ่าน การที่เด็กจะฉลาดได้ บางครั้งก็ไม่สามารถคิดทุกอย่างเองได้หมด ต้องการหาข้อมูลเพิ่มพูนความรู้อยู่ตลอดเช่นกัน การอ่านเป็นพื้นฐานสำคัญของการได้มา ซึ่งข้อมูล พ่อแม่ควรบ่มเพาะสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับเด็กตั้งแต่ยังเล็กๆ อาจเริ่มด้วยหนังสือภาพก่อนก็ได้
5. เล่นให้สนุก เล่นให้เป็น เล่นให้สมตามวัย การเล่นเป็นธรรมชาติของเด็กทุกคน และเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาสติปัญญา และความสามารถในการเรียนรู้ทุกด้านของเด็ก พ่อแม่จึงต้องปล่อยให้เด็กเล่นบ้าง ซนบ้าง และต้องให้เหมาะสมตามวัย และระดับพัฒนาการของเด็ก เด็กทุกคนสามารถพัฒนาได้ เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่ต้องหาด้านเด่นของลูกให้เจอ จากนั้นก็ส่งเสริมและพัฒนาในแนวทางที่เหมาะสม
ข้อมูลอ้างอิงจาก:
คลีนิกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น Happy Home Clinic
IQ EQ พัฒนาสติปัญญาเด็กไทย กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
เครือข่ายพ่อแม่เยาวชนเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
www.thaimental.com
ฉบับที่ 24 : กรกฎาคม 2551 : ไอคิว...สร้างได้ (ตอนที่ 1)
1. ส่งเสริมสุขภาพร่างกาย โดยหลักใหญ่มีอยู่ 3 อ. คือ
อาหาร ออกกำลังกาย เอกเขนก
2. ส่งเสริมพัฒนาการตามวัย พ่อแม่ควรใส่ใจกับพัฒนาการในแต่ละวัยของเด็ก เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ ถ้าพัฒนาการด้านไหนช้า ก็ต้องรีบกระตุ้นทันที ถ้าไม่ช้า ก็ส่งเสริมให้เร็วขึ้นได้เช่นกัน แต่ถ้าทำมากเกินไป ก็ส่งผลเสียได้ การเร่งเร้าจนเกินความสามารถในวัยนั้น อาจทำให้เด็กหมดความมั่นใจ แล้วไม่กล้าเรียนรู้ต่อก็ได้
ฉบับที่ 23 : กรกฎาคม 2551 : วิธีแก้ไขปัญหาเจ้าตัวน้อยแสนดื้อ
ฉบับที่ 22 : มิถุนายน 2551 : เปลี่ยนเจ้าตัวน้อยแสนดื้อ ด้วยรอยยิ้ม
(ตอนที่ 1: โดย กุสุมา คำเกลี้ยง สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น ราชนครินทร์)
อาการดื้อของเจ้าตัวน้อยคือ: การที่ เด็กไม่ยอมทำตามคำสั่งของผู้ใหญ่ หรือไม่ยอมทำตามกฎระเบียบที่กำหนดเอาไว้ เด็กอาจไม่ยอมทำตามหรือทำแค่ครึ่งๆกลางๆ ไม่ยอมทำให้เสร็จ อาการดื้อของเจ้าตัวน้อยเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้เกิดปัญหา สัมพันธภาพใน ครอบครัวได้บ่อยๆ พร้อมทั้งรอยยิ้มในบ้านจะจางหายไปได้
สาเหตุของเด็กดื้อคือ:
การเลี้ยงดู หรือวิธีที่พ่อแม่ใช้จัดการกับพฤติกรรมของเด็กอย่างไม่เหมาะสม เช่น การเลี้ยงแบบตามใจมากเกินไป ผลคือทำให้เด็กเคยตัว จะเอาอะไรต้องเอาให้ได้ ถ้าถูกขัดใจอาละวาด หรือเลี้ยงแบบลงโทษเด็กอย่างรุนแรงเมื่อเด็กทำผิด อาจมีสาเหตุตามพ่อแม่เป็น คนหงุดหงิด การควบคุมตัวเองไม่ดี มักลงโทษเฆี่ยนตีเด็กมากหรือหนักแน่นเกินความ จำเป็นหรือลงโทษโดยไม่มีเหตุผล ทำให้เด็กต่อต้านพ่อแม่ และดื้อมากขึ้น นอกจากนี้ยังซึมซับความรุนแรงเข้าไว้ในใจ และนำไปใช้จัดการกับปัญหาต่อไปเมื่อเขาโตขึ้น
จาก: สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น ราชนครินทร์ เขียนโดย กุสุมา คำเกลี้ยง
ฉบับที่ 21 : พฤษภาคม 2551 : เทคนิคพ่อ แม่
เลอะน้ำส้ม ล้างด้วยน้ำอุ่น
เวลาที่ให้ลูกกินน้ำส้ม คุณแม่หลายท่านอาจมีปัญหาเมื่อลูกกินน้ำส้มแล้วหกเลอะเทอะใส่เสื้อ ซักเท่าไหร่ก็ยังมีรอยน้ำส้มให้เห็นเป็นคราบอยู่
มีวิธีแก้ที่ง่ายมากค่ะ
ถ้าน้ำส้มหกใส่เสื้อลูก เพียงแค่นำมาแช่ในน้ำอุ่น 15 – 20 นาที แล้วนำไปซักกับน้ำยาซักผ้าเด็กตามปกติ รอยจุดๆ สีส้มก็จางหายไปค่ะ
ลบรอยเลือดด้วยสบู่
ถ้าวันไหนลูกเกิดวิ่งหกล้ม แล้วมีเลือดไหลขึ้นมาเลอะเสื้อ หรือเลอะกางเกง
เราเพียงแค่รีบถอดเสื้อผ้าตัวนั้นๆออกแล้วนำไปถูสบู่ และขยี้ในทันที
ต่อจากนั้นล้างออกด้วยน้ำเปล่าเย็นๆ รอยเลือดจะจางหายไปอย่างรวดเร็ว
ถ้าบ้านไหนไม่รู้อาจรีบใช้น้ำร้อนมาถูๆ เพื่อให้รอยเลือดออก
แต่ระวังนะคะ จากรอยเลือดเพียงหยดหรือสองหยดอาจขยายวงกว้างเป็นวงใหญ่ขึ้นได้
ทางที่ดีควรใช้สบู่ และ น้ำแข็งแต่เพียงเท่านั้นค่ะ
แช่น้ำร้อนขจัดรอยช็อกโกแลต
เสื้อลูกเมื่อเปื้อนรอยช็อกโกแลต คุณแม่ไม่ต้องกังวล
เพราะรอยเปื้อนสามารถล้างออกได้โดยง่าย
เพียงแค่นำส่วนที่เปื้อนแช่ในน้ำร้อนเพียงครู่เดียว
จะสามารถล้างรอยช็อกโกแลตออกได้อย่างหมดจด
แล้วนำไปซักตามปกติ
จาก: หนังสือรักลูก
ฉบับที่ 20 : พฤษภาคม 2551 : อย่าให้เด็กๆขาดการเล่น (การเล่นของเด็กปฐมวัย)
ประโยชน์ของการเล่น
การเล่นช่วยให้เด็กเกิดการพัฒนาด้านต่างๆ:
สำหรับผู้ใหญ่ก็ได้รับประโยชน์จากการเล่นของเด็กเช่นกัน
นอกจากจะเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศของความเป็นครอบครัวที่อบอุ่น พ่อ แม่ ลูก
แล้วยังเป็นโอกาสที่ผู้ใหญ่ จะได้รับรู้ว่าเด็กหรือ บุตรหลานของตนเองในระดับลึกลงไปอีก
ว่าเขามีความคิดและความต้องการอย่างไร ทั้งยังจะช่วยสะท้อนให้เห็นภาพของตนเอง
เกี่ยวกับชีวิตประจำวันทั่วไปและการกระทำของตน ต่อเด็ก เพราะเด็กจะสะท้อนสิ่งต่างๆ
เหล่านั้นออกมาในการเล่นของเขา และหากผู้ใหญ่ได้ลองมาร่วมเล่นในสิ่งที่เด็กเล่นอยู่ก็อาจจะรู้สึกถึงความเพลิดเพลิน
ผ่อนคลายความเครียดและเพิ่มมุมมองใหม่ๆให้กับตนเองอีกด้วย
ผู้ใหญ่ส่งเสริมการเล่นของเด็กได้ ดังนี้ :
1. จัดหาสถานที่ อุปกรณ์ที่เหมาะสมแก่วัยของเด็ก บนพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจเรื่องพัฒนาการ และความสนใจ ของเด็กในแต่ละวัย
2. ปล่อยให้เด็กเล่นอย่างอิสระตามความคิด และจินตนาการของเขา ผู้ใหญ่เพียงอยู่ใกล้ๆคอยดูแลเรื่องความปลอดภัยในระยะที่มองเห็น และสามารถช่วยเหลือเด็กได้ทันที
3. กระตุ้น ชี้แจง หรือแนะนำวิธีการเล่นใหม่ๆให้กับเด็ก โดยอาจแสดงบทบาทเป็นผู้ร่วมเล่น หรือเสนอทางเลือกการเล่นแบบใหม่ๆให้กับเด็กบ้างตามความสมควร แต่ต้องระวังว่า ไม่ให้การเล่นเป็นการตามใจผู้ใหญ่
4. กล่าวคำชม เมื่อเด็กทำได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อเป็นการส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเอง แต่เมื่อเด็กทำผิดพลาด หรือรู้สึกว่าล้มเหลว ผู้ใหญ่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ โดยกล่าวคำปลอบใจ หรือดึงเด็กเข้ามาไว้ในอ้อมกอด เพื่อเป็นการเสริมกำลังใจ
5. ผู้ใหญ่ควรช่างสังเกตุและจดจำเกี่ยวกับการเล่นของเด็ก เมื่อพบว่า เด็กสนใจในสิ่งใดเป็นพิเศษ ควรส่งเสริมความสนใจนั้นๆด้วยการหาอุปกรณ์ หรือแนะนำเพิ่มเติมให้แก่เด็ก เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้มีการพัฒนาด้านนั้นๆต่อไป
จาก: สรวงธร นาวาผล วท.บ.จิตวิทยา,ศศ.ม.เทคโนโลยีสังคม ผู้จัดการสถาบันเด็ก มูลนิธิเด็ก
ฉบับที่ 19 : พฤษภาคม 2551 : โรงเรียนของเรา
ในช่วงระหว่าง 2 สัปดาห์แรกนี้ เป็นเวลาที่นักเรียนกำลังปรับตัวเข้ากับคุณครู และ Teacher คนใหม่
ส่วนขอบข่ายตาม หน่วยการเรียนรู้ โรงเรียนของเรา มีดังนี้:
โรงเรียนของเรา
ส่วนวันจันทร์ที่ 19 พ.ค. 51 เป็นวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา คุณครูก็จะให้ความรู้เบื้องต้นกับนักเรียนด้วย
โครงงานเรื่องการแยกขยะ:
ฉบับที่ 18 : กุมภาพันธ์ 2551 : สอนลูกให้คิดเชิงบวก
รู้สึกไหมคะว่าวิธีที่แนะนำนี้ใครๆก็นำไปใช้ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นคุณพ่อ คุณแม่ เท่านั้น ลองเลือกทำดูสักข้อสองข้อ คุณอาจรู้สึกมีเครื่องหมายบวกในใจเพิ่มขึ้น
ฉบับที่ 17 : มกราคม 2551 : ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน
การใช้น้ำอย่างสมเหตุสมผล ไม่ควรเกิน 200 ลิตร/คน/วัน หรือ 6 ลูกบาศก์เมตร/คน/เดือน
ท่านจะช่วยลดโลกร้อน ด้วยการใช้น้ำได้อย่างไร?
คิดใหม่ใช้ซ้ำ อย่างรู้คุณค่า ประหยัดเงินตรา ประหยัดพลังงาน
ฉบับที่ 16 : ธันวาคม 2550 : ประชาธิปไตยเต็มร้อย หนูน้อยชวนไปใช้สิทธิ์
โรงเรียนสมบุญวิทย์ ส่งเสริมประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยเต็มร้อย หนูน้อยชวนไปใช้สิทธิ์
พ่อจ๋า แม่จ๋า อย่าลืมไปเลือกตั้ง
วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม 2550
เวลา 08.00 – 15.00 น.
สมบุญวิทย์รวมใจ ชวนไปเลือกตั้งจ้ะ
ฉบับที่ 15 : พฤศจิกายน 2550 : ตามรอยพ่อหลวง... อยู่อย่างพอเพียง
ฉบับที่ 14 : ตุลาคม 2550 : เด็กเรียนรู้อย่างไร ถึงยืนหยัดได้ ในสังคมเศรษฐกิจปัจจุบัน
I.Q. (INTELLIGENCE QUOTIENT) คือความฉลาดทางสติปัญญา
วัดได้จากอายุสมองเทียบกับอายุจริง ปกติควรอยู่ที่ 90 – 110 เป็นการวัดความสามารถทางคิดวิเคราะห์ ความสามารถทางวิชาการ วัดความจำ การอ่าน เขียน คำนวณ แต่ไม่ได้วัดด้านอื่นๆ เช่น :
การพัฒนา I.Q. พบว่า :
สมองเด็กจะเจริญเติบโต และพัฒนาได้ดีเมื่อ :
ถ้าพ่อแม่เล่นกับลูก พ่อแม่เป็นของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับลูก ยิ่งเล่นมาก ยิ่งฉลาดมาก
ฉบับที่ 13 : กันยายน 2550 : คำขวัญวันเด็ก 2551 : สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม
กาลเวลาย่อมล่วงเลยไป คืนวันย่อมผ่านพ้นไป
อายุและวัยย่อมล่วงไปโดยลำดับ
บุคลพึงเพ่งพิจารณาถึงเหตุนี้ทีละน้อยๆ
แล้วพึงทำบุญกุศลอันนำความสุขมาให้ในปัจจุบันฯ
Time passes on. Days and nights elapse…
Periods of life follow one another in turn.
Knowing the danger of life, let a man
Perform happiness-producing merits.
จากธรรมจักษุ
ฉบับที่ 12 : สิงหาคม 2550 : อัจฉริยภาพ... ด้านการเข้าใจธรรมชาติ
อัจฉริยภาพด้านการเข้าใจธรรมชาติ ดีอย่างไร
ตรวจสอบอัจฉริยภาพด้านการเข้าใจธรรมชาติ
ฉบับที่ 11 : กรกฎาคม 2550 : สมาธิดี... จุดเริ่มต้นการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ
หากเอ่ยถึงเรื่องสมาธิ คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจมองข้าม และคิดว่าเป็นสิ่งไกลตัว หรือไม่จำเป็นสำหรับเด็ก แต่ทราบหรือไม่ว่า สมาธิเป็นส่วนสำคัญในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นคำตอบหนึ่งของความฉลาดอย่างเต็มศักยภาพของลูก
สมาธิในการเรียนรู้คืออะไร?
สมาธิคือความคิดแน่วแน่ ตั้งใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างต่อเนื่อง และต้องการทำให้สำเร็จ ซึ่งโดยปกติแล้ว สมาธิจะเกิดขึ้นเองในกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ส่งเสริมอย่างเหมาะสม เพราะเด็กที่ได้รับการฝึกฝน และพัฒนาให้มีสมาธินั้น จะส่งผลต่อวงจนความสามารถในการเรียนรู้ การเล่น และประสบการณ์ต่างๆในอนาคต
แบบไหนจึงจะเรียกว่ามีสมาธิ ?
บ่อยครั้งที่คุณพ่อ คุณแม อาจรู้สึกเหนื่อยล้ากับพฤติกรรมซุกซนของลูก และมักจะสังเกตเห็นว่า ลูกสนใจสิ่งหนึ่ง แล้วก็หันไปสนใจอีกสิ่งหนึ่งอย่างรวดเร็ว หรือไม่มีความอดทนในการรอคอย ซึ่งดูคล้ายไม่มีสมาธิ แต่ความจริงแล้ว ลูกมีสมาธิ และมุ่งมั่นที่จะสำรวจสิ่งต่างๆอยู่เสมอ เพราะมิติของความอยากรู้อยากเห็นมักจะคาบเกี่ยวกับความกระตือรือร้น โดยมีสมาธิเป็นที่ตั้งในกระบวนการเรียนรู้
ฉบับที่ 10 : ตุลาคม 2550 : การฝึกวินัยในเด็ก
“เด็ก เป็นวัยที่เต็มไปด้วยความไร้เดียงสา ถ้าเปรียบก็คงเปรียบได้ดังผ้าขาว ขึ้นอยู่กับผู้ที่เลี้ยงดูว่า จะแต้มแต่งผ้าขาวผืนนั้นให้เป็นสีใด อาจเป็นสีสวยสดใสดังสีรุ้ง หรือสีเทาซีดหม่นก็ได้”
เทคนิคการฝึกวินัย
ฉบับที่ 09 : ตุลาคม 2550 : กล้วย... คุณประโยชน์สารพัด
ถ้าต้องการให้ระดับพลังงานที่หย่อนยานลงให้กลับคืนมาอย่างรวดเร็ว ไม่มีอาหารใดดีไปกว่ากล้วย ซึ่งอุดมด้วยน้ำตาลธรรมชาติ 3 ชนิด คือ ซูโครส ฟรุคโตส และกลูโคส รวมกับเส้นใยและกากอาหาร กล้วยจะช่วยเสริมเพิ่มพลังงานให้กับร่างกายทันทีทันใด
กล้วยรักษาโรคต่างๆอย่างธรรมชาติได้มากมาย ท่านควรลองพิสูจน์ด้วยตนเองบ้าง ว่าจะได้ผลตามที่กล่าวหรือไม่ และเมื่อเปรียบเทียบกับแอปเปิ้ลแล้ว กล้วยมีโปรตีนมากกว่าแอปเปิ้ล 4 เท่า มีคาร์โบไฮเดรตมากกว่า 2 เท่า มีฟอสฟอรัสมากกว่า 3 เท่า มีวิตามิน A และธาตุเหล็กมากกว่า 5 เท่า และมีวิตามิน รวมทั้งแร่ธาตุอื่นมากกว่าอีก 2 เท่า และกล้วยยังอุดมไปด้วยโปรแตสเซียม กล้วยจึงเป็นหนึ่งในอาหารที่ดีที่สุด
ฉบับที่ 08 : ตุลาคม 2550 : เคล็ดลับสอนลูก ฉลาดรู้รอบด้าน
ฉบับที่ 07 : ตุลาคม 2550 : แม่ คือความสำคัญ และคุณค่าที่ควรกตัญญู
แม่… คือคำแรกที่เราเปล่งเสียงออกมา รวมความหมายแห่งความสำคัญ และคุณค่าที่ยิ่งใหญ่
ฉบับที่ 06 : ตุลาคม 2550 : 7 วิธี ช่วยให้ลูกเก่งเลข
ฉบับที่ 05 : ตุลาคม 2550 : หาทานง่าย 5 ผลไม้ล้างพิษ
ฉบับที่ 04 : ตุลาคม 2550 : รับประทานอาหารอย่างไร ให้มีสุขภาพที่ดี
ฉบับที่ 03 : ตุลาคม 2550 : ฝึกลูกให้เข้าสังคมได้ตั้งแต่...
ฉบับที่ 02 : ตุลาคม 2550 : มรดกท่านพุทธทาส
“เด็กทั้งหลายนั่นแหละ คือผู้สร้างโลกในอนาคต
เราจงพากันสร้างโลก โดยผ่านทางการสร้างเด็ก
อย่างถูกต้องเสียบัดนี้เถิด, อย่าปล่อยเด็กให้เป็น
ไปตามบุญตามกรรมเลย จึงจะเป็นการกระทำที่มี
ความรับผิดชอบอย่างสูงสุด ของบิดามารดา
ครูบาอาจารย์ แห่งยุคนี้ ซึ่งถือว่าเป็นยุคของสติปัญญา”
มรดกที่ท่านพุทธทาสฝากไว้
ฉบับที่ 01 : ตุลาคม 2550 : แนะนำระบบ Montessori
ระบบ Montessori Appiled เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ( Child Centered ) ทางโรงเรียนได้มีการจัดการเรียนการสอน โดยเน้นพัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ :
ร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ สังคม และสติปัญญา และได้จัดกิจกรรมทางการเรียนรู้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ :
ปรัชญาและหลักของการสอนแบบ Montessori